วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ตัวต้านทานเซรามิค ( Ceramic Resistor ) ตัวต้านทานกระเบื้อง R กระเบื้อง คุณสมบัติ โครงสร้าง

ตัวต้านทานกระเบื้อง  R กระเบื้อง  ຕົວຕ້ານທານ


ตัวต้านทานเซรามิคนิยมใช้งานในแผงวงจรโดยเฉพาะแผงวงจรงานอุตสาหกรรม  ลักษณะสีของตัวต้านทานเป็นสีขาว ข้างนอกหุ้มด้วยเซรามิค  ข้างในมีชิ้นส่วนที่เป็นตัวต้านทานซึ่งทำมาจากเส้นลวดพัน ( Wirewound ) หรือ  เมตัลออกไซด์ฟิล์ม  เมตัลออกไซด์ฟิล์มจะใช้ทำตัวต้านทานแทนเส้นลวดเมื่อค่าที่ต้องการผลิตด้วยเส้นลวดทำไม่ได้ เราใช้เลือยเพื่อผ่าดูข้างในว่าเป็นอย่างไร  ปรากฏว่าเลือยไม่ค่อยเข้าเนื่องจากเป็นเซรามิคกลัวใบเลื่อยจะเสียจึงใช้วิธีการทุบแทน   ปรากฏดังรูปด้านล่าง   ข้างในมีชิ้นส่วนตัวต้านทาน มีฝาต่อขาและมีขาต่อใช้งาน    ด้วยคุณสมบัติของเซรามิคที่ใช้หุ้มทำให้ตัวต้านทานชนิดนี้มีคุณสมบัติที่ดีขณะที่ราคาถูก

(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)

ข้อดี
-   ทนความร้อนได้ดี
-   ระบายความร้อนได้ดี
-   ค่าความต้านทานมีความเสถียรต่ออุณหภูมิ
-   เซรามิคเป็นฉนวนที่ดีมาก R ชนิดนี้จึงเหมาะกับการใช้งานในแผงวงจรทีมีอุปกรณ์จำนวนมากในแผง
-   หุ้มด้วยเซรามิคทำให้ทนต่อความชื่นและการสั่นสะเทือนได้ดี  อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างเวลาทำงานจะเคลื่อนที่ไปมาชิ้นส่วนข้างในแผงวงจรมีโอกาสหลุด ดังนั้นชิ่นส่วนที่มีคุณสมบัติทนการสั่นสะเทือนได้ดี ( Resistance to shock ) จึงมีความจำเป็นสำหรับงานที่มีการเคลื่อนที่ไปมา
- ไม่เป็นเชื้อไฟ( Flameproof) เมือเกิดกรณีแย่สุดในวงวรตัวต้านทานอาจเสียหาย ด้วยคุณสมบัติของเซรามิคจะไม่เป็นเชื้อไฟและไม่มีเปลวไฟเพื่อลามไหม้ชิ่นส่วนอื่นๆในวงจร  ด้วยคุณสมบัติกันไฟลามนี้จึงช่วยป้องกันไฟใหม้ด้วยการไม่ลามไปไหม้ชิ่นส่วนอื่นๆ

รูปตัวต้านทานไวร์วาวด์ ( Wirewound Resistor ) โครงสร้าง  คุณสมบัติ


ตัวต้านทานไวร์วาวด์   Wirewound Resistor   ຕົວຕ້ານທານ


ตัวต้านทานไวร์วาวด์ บางครั้งเรียกตัวต้านทานชนิดขดลวด (ลวดพัน)    โครงสร้างพื้นฐานของตัวต้านทานชนิดนี้ทำจากเส้นลวดพันรอบแกนเซรามิคหรืออาจเป็นแกนไฟเบอร์กลาส  เส้นลวดที่ใช้พันอาจเป็นชนิด  Copper Nickel  Alloy หรือ  Nickel-Chrome Alloy   ด้านนอกสุดหุ้มด้วยซิลิโคนชนิดพิเศษทนความร้อนได้สูงหรืออาจเป็นวัสดุชนิดอื่นที่ทนความร้อนได้สูง  การหุ้มช่วยป้องกันตัวต้านทานจากสภาพแวดล้อม    ตรงปลายทั้งสองข้างมีฝาสำหรับต่อขาตัวนำออกไปใช้งาน    กำลังไฟฟ้าหรือวัตต์มีค่าตั้งแต่ 1/2W  1W 3W  5W  7W  10W   15W...จนถึง 1000W ขึ้นไป    โดยตัวต้านทานวัตต์ต่ำจะมีขายาวใช้สำหรับบัดกรีลงแผงวงจร   ตัวต้านทานวัตต์สูงขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีขาสั้นเอาไว้บัดกรีเชื่อมต่อกับสายไฟและตัวต้านวัตต์สูงมีขาเป็นแบบขันน๊อตก็มีเพื่อให้การต่อแน่นและง่าย    สำหรับค่าความต้านทานของตัวต้านทานไวร์วาวด์ผลิตได้ตั้งแต่ค่าน้อยกว่า 1 โอห์มจนถึงค่าเป็น  Kilo โอห์ม   ความคลาดเคลื่อนมาตรฐานที่ผลิตคือ   ±5%   ±10% แต่สามารถผลิตสเปคอื่นๆได้ตั้งแต่    ±0.01%   ±1%   ±2%   ±3%   ±5%   ±10%    ตัวต้านทานไวร์วาวด์มีคุณสมบัติที่ดีมาก  ( High performance ) คือ  ค่าความต้านทานเสถียรเมื่อทำงานในวงจร   ระบายความร้อนได้ดี   ทนความร้อนได้สูง

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การอ่านค่า L หรือ ตัวเหนี่ยวนำ แบบ SMD การอ่านค่า L ตอนที่ 2 อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

ตัวเหนี่ยวนำ



L  แบบ SMD ตามรูปในบทความนี้เรียกว่า SMD  Power  Inductors  จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ข้างในทำจากเส้นลวด (Wirewound)  พันรอบแกนเฟอร์ไรต์  ส่วน   L   SMD  อีกแบบที่เป็นตัวสี่เหลี่ยมเหมือน R  SMD  เรียกว่า   Chip Inductors    ขนาดของ L ค่อนข้างหลากหลายมีทั้งแบบขนาดมาตรฐานและแบบไม่มาตรฐานผลิตขึ้นเพื่อให้ได้ค่า L ตามที่วงจรต้องการ

%  ความคาดเคลี่อนของ   L

J    =  ±5 %
K   =  ±10 %
L   =   ±15 %
M  =  ±20 %
V   =  ±25 %
N   =  ±30 %

วิธีการอ่านค่า  L  แบบ  SMD Power Inductors 

การอ่านค่า L หรือ ตัวเหนี่ยวนำ ตอนที่ 1 อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

อ่านค่า  ตัวเหนี่ยวนำ  หรือ L

ตัวเหนี่ยวนำหรือ  L  มีหลายรูปแบบการอ่านค่าจะแตกต่างกันสำหรับแต่ละแบบ  เพื่อให้เข้าใจง่ายขอแยกเป็นตอน ๆ     ตอนแรกนี้จะกล่าวถึง    การอ่านค่า  L   4 แถบสี  การอ่านค่าคล้ายกับการอ่านค่าตัวต้านทาน   ถ้าอ่านค่า R เป็นก็จะอ่านค่า   L ได้อย่างรวดเร็ว  ความหมายของรหัสสีแสดงในตาราง
ข้อมูลในตารางอ้างอิงจากผู้ผลิต L ชั้นนำของโลกดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ลิงค์ใต้ตาราง

อ่านค่า  ตัวเหนี่ยวนำ  หรือ L
 


ตัวอย่าง ที่  1   

ฟิวส์ Fuse ในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ฟิวส์หลอดแก้ว ฟิวส์กระเบื้อง ฟิวส์ SMD


ฟิวส์เป็นอุปกรณ์ป้องกันวงจร อุปกรณ์และคนจากอันตรายร้ายแรงที่เกิดขึ้นจากกระแสไหลเกิน  เพื่อให้เข้าใจการทำงานของฟิวส์เราจำเป็นต้องเข้าใจคำศัพท์ที่ใช้อธิบายการทำงานของฟิวส์ คำศัพท์เหล่านี้จะพบได้ในเอกสารสเปค หรือ Datasheet ของผู้ผลิต บทความนี้เราจะกล่าวถึงหัวข้อสำคัญและการทำงานของฟิวส์เบื้องต้นเท่านั้น  ในการออกแบบวงจรจริงต้องมีการคำนวณตามหลักการคำนวณ การเลือกใช้ชนิดของฟิวส์ให้เหมาะกับชนิดของวงจรและสุดท้ายต้องมีการทดสอบเพื่อพิสูจน์ว่าฟิวส์สามารถป้องกันกระแสเกินและทำงานได้จริงในสภาวะวงจรที่ทำงานไม่ปกติแบบต่าง ๆ