ก่อนที่จะใช้ Capacitor Code ช่วยอ่านค่า C ขอทบทวนหลักการ 2 ประเด็นก่อน ประเด็นแรก % ค่าความคาดเคลื่อนของตัวเก็บประจุ
B = ± 0.1 pF
C = ± 0.25 pF
D = ± 0.5 pF
F = ± 1%
G = ± 2%
J = ± 5%
K = ± 10%
M = ± 20%
Z = +80% / -20%
B C D นิยมใช้กับตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค
ประเด็นที่ 2 การระบุค่าความจุในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 3 แบบ
1. บอกค่าความจุเป็นตัวเลขตรงๆ พร้อมหน่วยความจุ ให้อ่านค่าตามที่ระบุได้เลย
เช่น ตามรูปด้านล่างอ่านค่าความจุได้ 0.1μF
2. บอกค่าความจุเป็นตัวเลขแต่ไม่ระบุหน่วย ถ้าตัวเลขน้อยกว่า 1 ( เช่น 0.2) ให้อ่านค่าตามตัวเลขนั้นและมีหน่วยเป็น μF ถ้าตัวเลขมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ให้อ่านค่าเป็น pF
ยกตัวอย่างตามรูปด้านล่างรูปแรก 0.33 ไม่บอกหน่วยและตัวเลขน้อยกว่า 1 ให้อ่านค่าเป็น μF
ดั้งนั้นอ่านค่าความจุได้ 0.33μF รูปที่ 2 3300 ตัวเลขมากกว่า 1 และไม่ระบุหน่วยให้อ่านค่าเป็น pF
ดังนั้นอ่านค่าได้ 3300pF
3. บอกเป็นรหัสตัวเลข ต้องทำการแปลงรหัสตามหลักก่อนแล้วอ่านค่าออกมาเป็น pF เช่นรหัสค่าความจุ 204 ตัวเลข 2 หลักแรกเป็นตัวตั้ง ตัวเลขหลักที่3 เป็นตัวคูณ ดังนั้น
204 = 20 x 10000 = 200000pF
ตัวอย่างการใช้ Capacitor Code
Ex1.
รหัส 104 จากการดู Capacitor Code ด้านล่าง 104 = 100nF
ใช้มิเตอร์วัดได้จริง 97nF ถือว่าใกล้เคียงถูกต้อง
วัดตัวเก็บประจุ พิสูจน์การอ่านค่า |
Ex2. รหัส 393 จากการดู Capacitor Code ด้านล่าง 393 = 39nF
ใช้มิเตอร์วัดได้จริง 40.67nF ถือว่าใกล้เคียงถูกต้อง
วัดตัวเก็บประจุ พิสูจน์การอ่านค่า |
Ex3. รหัส 103 จากการดู Capacitor Code ด้านล่าง 103 = 10nF
ใช้มิเตอร์วัดได้จริง 10.49nF ถือว่าใกล้เคียงถูกต้อง
วัดตัวเก็บประจุ พิสูจน์การอ่านค่า |
Ex4.รหัส 302 จากการดู Capacitor Code ไม่พบ ใช้หลักการแปลงรหัส
แล้วอ่านค่าออกมาเป็น pF ดังนั้น 302 = 30x100 = 3000pf แปลงเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่าคือ nF
ทำได้โดยหารด้วย 1000 หรือคิดง่ายๆคือเลื่อนทศนิยมไปข้างหน้า 3 จุดจะได้ = 3nF
ใช้มิเตอร์วัดได้จริง 3.75nF ถือว่าใกล้เคียงถูกต้อง
Ex5. ตัวเลข 3300 เข้าหลักเกณฑ์ ตัวเลขมากกว่า 1 และไม่บอกหน่วยความจุ ให้อ่านค่าตัวเลขออกมาตรงๆแล้วตามด้วยหน่วย pF ดังนั้นรูปนี้ 3300pF แปลงเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่าคือ nF
= 3.3nF ใช้มิเตอร์วัดได้จริง 4.1nF ตัวเก็บประจุตัวนี้มีค่าความคาดเคลื่อน J ± 5%
3.3nf ± 5% = 3.465nf ดังนั้นว่ากันตามหลักการแล้วตัวเก็บประจุตัวนี้เกินค่าที่ควรจะเป็นถือว่า Over specs คือเสีย มีค่าเกิน ลืมบอกไปว่าตัวเก็บประจุตัวนี้เป็นตัวเก็บประจุเก่าค้างสต้อคหลายปีแล้ว เอามาจากที่เขาแบ่งขายอะไหล่เป็นถุง มีอุปกรณ์หลายอย่างรวมกัน และอีกอย่างมัลติมิเตอร์อาจมีค่าการวัดทึ่คลาดเคลื่อนได้สำหรับการวัดค่าความจุค่าต่ำๆ
Ex6. รหัส 204 จากการดู Capacitor Code ไม่พบ ใช้หลักการแปลงรหัส
แล้วอ่านค่าออกมาเป็น pF ดังนั้น 204 = 20x10000 = 200000pF
แปลงเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่าคือ nF
ทำได้โดยหารด้วย 1000 หรือคิดง่ายๆคือเลื่อนทศนิยมไปข้างหน้า 3 จุดจะได้ = 200nF
ใช้มิเตอร์วัดได้จริง 199.4nF ถือว่าใกล้เคียงถูกต้อง
Ex7. ตัวเลข 0.1 เข้าหลักเกณฑ์ บอกค่าความจุเป็นตัวเลขตรงๆ พร้อมหน่วยความจุ ให้อ่านค่าตามที่ระบุได้เลย ดังนั้นอ่านค่าได้ 0.1μF ใช้มิเตอร์วัดได้จริง 89.4nF = 0.089μF ถือว่าใกล้เคียง 0.1μF จึงถูกต้อง
Ex8. ตัวนี้เป็นการบ้านลองทำดู
วัดตัวเก็บประจุ พิสูจน์การอ่านค่า |
Capacitor Code
Code 100 = 0.00001μF = 0.01nF = 10pF
Code 120 = 0.000012μF = 0.012nF = 12pf
Code 150 = 0.000015μF = 0.015nF = 15pF
Code 180 = 0.000018μF = 0.018nF = 18pF
Code 220 = 0.000022μF = 0.022nF = 22pF
Code 250 = 0.000025μF = 0.025nF = 25pF
Code 270 = 0.000027μF = 0.027nF = 27pF
Code 330 = 0.000033μF = 0.033nF = 33pF
Code 390 = 0.000039μF = 0.039nF = 39pF
Code 470 = 0.000047μF = 0.047nF = 47pF
Code 560 = 0.000056μF = 0.056nF = 56pF
Code 680 = 0.000068μF = 0.068nF = 68pF
Code 820 = 0.000082μF = 0.082nF = 82pF
Code 101 = 0.0001μF = 0.1nF = 100pF
Code 121 = 0.00012μF = 0.12nF = 120pF
Code 151 = 0.00015μF = 0.15nF = 150pF
Code 181 = 0.00018μF = 0.18nF = 180pF
Code 221 = 0.00022μF = 0.22nF = 220pF
Code 251 = 0.00025μF = 0.25nF = 250pF
Code 271 = 0.00027μF = 0.27nF = 270pF
Code 331 = 0.00033μF = 0.33nF = 330pF
Code 391 = 0.00039μF = 0.39nF = 390pF
Code 471 = 0.00047μF = 0.47nF = 470pF
Code 561 = 0.00056μF = 0.56nF = 560pF
Code 681 = 0.00068μF = 0.68nF = 680pF
Code 821 = 0.00082μF = 0.82nF = 820pF
Code 102 = 0.001μF = 1nF = 1000pF
Code 122 = 0.0012μF = 1.2nF = 1200pF
Code 152 = 0.0015μF = 1.5nF = 1500pF
Code 182 = 0.0018μF = 1.8nF = 1800pF
Code 222 = 0.0022μF = 2.2nF = 2200pF
Code 252 = 0.0025μF = 2.5nF = 2500pF
Code 272 = 0.0027μF = 2.7nF = 2700pF
Code 332 = 0.0033μF = 3.3nF = 3300pF
Code 392 = 0.0039μF = 3.9nF = 3900pF
Code 472 = 0.0047μF = 4.7nF = 4700pF
Code 562 = 0.0056μF = 5.6nF = 5600pF
Code 682 = 0.0068μF = 6.8nF = 6800pF
Code 822 = 0.0082μF = 8.2nF = 8200pF
Code 103 = 0.01μF = 10nF = 10000pF
Code 123 = 0.012μF = 12nF = 12000pF
Code 153 = 0.015μF = 15nF = 15000pF
Code 183 = 0.018μF = 18nF = 18000pF
Code 223 = 0.022μF = 22nF = 22000pF
Code 253 = 0.025μF = 25nF = 25000pF
Code 273 = 0.027μF = 27nF = 27000pF
Code 333 = 0.033μF = 33nF = 33000pF
Code 393 = 0.039μF = 39nF = 39000pF
Code 473 = 0.047μF = 47nF = 47000pF
Code 563 = 0.056μF = 56nF = 56000pF
Code 683 = 0.068μF = 68nF = 68000pF
Code 823 = 0.082μF = 82nF = 82000pF
Code 104 = 0.1μF = 100nF =100000pF
Code 124 = 0.12μF = 120nF = 120000pF
Code 154 = 0.15μF = 150nF = 150000pF
Code 184 = 0.18μF = 180nF = 180000pF
Code 224 = 0.22μF = 220nF = 220000pF
Code 254 = 0.25μF = 250nF = 250000pF
Code 274 = 0.27μF = 270nF = 270000pF
Code 334 = 0.33μF = 330nF = 330000pF
Code 394 = 0.39μF = 390nF = 390000pF
Code 474 = 0.47μF = 470nF = 470000pF
Code 564 = 0.56μF = 560nF = 560000pF
Code 684 = 0.68μF = 680nF = 680000pF
Code 824 = 0.82μF = 820nF = 820000pF
Code 105 = 1μF = 1000nF = 1000000pF
Code 125 = 1.2μF = 1200nF = 1200000pF
Code 155 = 1.5μF = 1500nF = 1500000pF
Code 185 = 1.8μF = 1800nF = 1800000pF
Code 205 = 2μF = 2000nF = 2000000pF
50 เรื่อง น่ารู้ น่าอ่านเพิ่ม
- ตัวเก็บประจุ คาปาซิเตอร์ (20) โดย (20) = มี 20 เรื่อง
- ตัวต้านทาน รีซิสเตอร์ (22)
- ตัวเหนี่ยวนำ อินดักเตอร์ (6)
- ฟิวส์ FUSE (5)
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ (20)