RLC ELEC อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ตัวเก็บประจุ คาปาซิเตอร์ Capacitor ตัวต้านทานไวร์วาวด์ โครงสร้าง คุณสมบัติ ตัวต้านทานปรับค่าได้ R ผงคาร์บอน R ฟิล์มโลหะ R เซรามิค แถบสีตัวต้านทาน วิธี อ่านค่าตัวต้านทาน SMD เทอร์โมฟิวส์พัดลม พัดลมคอม ตัวเก็บประจุ ไมล่าร์ ไมก้า อิเล็กทรอไลต์ แทนทาลัม เซรามิค การอ่านค่าตัวเหนี่ยวนำ ตัวเหนี่ยวนำ ฟิวส์หลอดแก้ว ฟิวส์เซรามิค หรือ ฟิวส์กระเบื้อง....... >>>> เลือกดูหัวข้อ / เรื่อง ที่เมนูด้านข้าง
วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2566
การอ่านค่าตัวเก็บประจุ Capacitor Code ช่วยอ่านค่า C อย่างรวดเร็ว วัดตัวเก็บประจุ พิสูจน์การอ่านค่า
ก่อนที่จะใช้ Capacitor Code ช่วยอ่านค่า C ขอทบทวนหลักการ 2 ประเด็นก่อน ประเด็นแรก % ค่าความคาดเคลื่อนของตัวเก็บประจุ
B = ± 0.1 pF
C = ± 0.25 pF
D = ± 0.5 pF
F = ± 1%
G = ± 2%
J = ± 5%
K = ± 10%
M = ± 20%
Z = +80% / -20%
B C D นิยมใช้กับตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค
ประเด็นที่ 2 การระบุค่าความจุในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น 3 แบบ
วันอังคารที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2566
วิธีอ่านค่าตัวต้านทาน SMD 102 คือ ตัวต้าน 1K ohm และ รูปตัวต้านทาน SMD
ตัวต้านทาน SMD มีขนาดเล็กทำให้ไม่มีพื้นพี่ สำหรับพิมพ์ค่าวัตต์ ค่าความต้านทาน และ ค่า % ความคาดเคลื่อนเหมือนกับตัวต้านทานตัวใหญ่ๆ พื้นที่สำหรับพิมพ์รหัสสีก็ ไม่มีเช่นกันจึงใช้รหัสสีระบุสเปคไม่ ได้ ค่าวัตต์ตัวต้านทาน SMD จะทราบได้จากรหัสขนาดโดยวัดความกว้าง ความยาว ความสูงแล้วดูค่าในตาราง ยกตัวอย่างเช่นตัวต้านทานที่มี ขนาด ยาวxกว้างxสูง = 3.1x1.6x0.55mm มีชื่อเรียกเฉพาะตามมาตรฐาน EIA Size Code ว่าขนาด Case Size 1206 จะมีวัตต์ = 1/4W ถ้าใช้ขนาด Case Size ในการประมาณค่าวัตต์ ผู้ผลิตแต่ละรายอาจมีค่าวัตต์ตัวต้านทาน SMD ที่ไม่เท่ากันเปะแต่ก็จะมีค่าวัตต์ที่ใกล้เคียงกัน
(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)
(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)
ดูขนาดแล้วเทียบเป็นวัตต์ตามตารางนี้
สำหรับค่าความต้านทาน และ % ความคาดเคลื่อนบอกเป็นรหัสสั้นๆ รหัสอาจเป็นรหัสตัวเลขล้วน หรือรหัสตัวเลขปนกับตัวอักษร
โดยอักษร R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm
K หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Kilo Ohm
M หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Mega Ohm
รหัสบอกค่าความต้านทานแบ่ งออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ ดังนี้
1) แบบ 3 Digit Marking ใช้กับตัวต้านทาน SMD ที่มีค่าความคาดเคลื่อน ±5%
เช่น 244 มีความหมายดังนี้ ตัวเลขแรกและตัวเลขที่สองเป็นตัวเลขตัวตั้ง ตัวเลขที่สามเป็นตัวคูณ (10 ยกกำลัง หรือจำนวนเลข 0 ) ดูตัวอย่างกันเลย
244 = 24 x 10 ยกกำลัง 4 ( x 10000) = 24 x 10000 = 240000 = 240 K ohm
240 = 24 x 10 ยกกำลัง 0 ( x1 ) = 24 x 1 = 24 = 24 ohm
105 = 10 x 10 ยกกำลัง 5 ( x 100000) = 10x 100000 = 1000000 = 1000 K ohm หรือ 1 M ohm
210 = 21 x 10 ยกกำลัง 0 ( x1 ) = 21x 1 = 21 ohm
221 = 22 x 10 ยกกำลัง 1 ( x10) = 22x10 = 220 ohm
101 = 10 x 10 ยกกำลัง 1 ( x10) = 10x10 = 100 = 100 ohm
102 = 10 x 10 ยกกำลัง 2 ( x100) = 10x100 = 1000 = 1K ohm
103 = 10 x 10 ยกกำลัง 3 ( x1000) = 10x1000 = 1000 = 10K ohm
2R2 = 2.2 ohm , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm , ถ้า K = K Ohm , M= Mega ohm
R22 = 0.22 ohm , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm , ถ้า K = K Ohm , M= Mega ohm
R50 = 0.50 ohm , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm , ถ้า K = K Ohm , M= Mega ohm
R33 = 0.33 ohm , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm , ถ้า K = K Ohm , M= Meag ohm
![]() |
ตัวต้านทาน SMD รหัส 301 = 30x10 = 300 ohm |
วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
เปรียบเทียบชนิดของตัวต้านทาน ให้ดูชัดๆ ป้องกันการระบุชนิด R ผิด รูปตัวต้านทานค่าคงที่หรือตัวต้านทานคงที่

เปรียบเทียบชนิด ตัวต้านทาน
ชนิดของตัวทานค่าคงที่และรูปตัวต้านทานจำนวนมากดูเพื่อเปรียบเทียบช่วยให้เข้าใจง่าย
เราทราบกันดีแล้วว่าตัวต้านทานมีหลายชนิด ในทางปฏิบัติมี R ที่สีคล้ายๆกันจึงเป็นปัญหาในการแยกชนิดตัวต้านทานในบางครั้ง สำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับตัวต้านทานหลายๆแบบจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้แต่กลับกันสำหรับมือใหม่หลายครั้งพบว่าการระบุชนิดตัวต้านทานนั้นจำเป็นต้องหาประสบการณ์และข้อมูลเพิ่มเติม จากการสำรวจตลาดเราได้รวบรวม R แบบต่างๆที่มีขายแล้วแยกเป็นกลุ่มๆ ไม่ปนกัน จากนั้นทำการเปรียบเทียบให้ดูแบบชัดๆ มีรูปประกอบจำนวนมากช่วยให้เข้าใจง่ายและสามารถย้อนกลับมาดูเมื่อต้องการศึกษาได้ตลอดเวลา ก่อนที่จะทำการเปรียบเทียบขอเริ่มต้นด้วยการดูรูป R ชนิดต่างๆก่อน การเปรียบเทียบจะอยู่ในช่วงท้าย จะนำมากล่าวในบทความนี้เพียง 5 ชนิดเท่านั้น คือ ต้านทานชนิดผงคาร์บอน ต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ตัวต้านทานเมตัลฟิล์ม ตัวต้านทานทนความร้อน หรือ Metal Oxide Film Resistor และ ตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์
(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)
1. ตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน ( Carbon Composition Resistor )
2. ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film Resistor )
1. ตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน ( Carbon Composition Resistor )
![]() |
ลักษณะตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน |
2. ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film Resistor )
4. ตัวต้านทานทนความร้อน หรือ Metal Oxide Film Resistor
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
เปรียบเทียบ วารีสเตอร์ และ ตัวเก็บประจุ แบบเซรามิค Varistor Vs Ceramic Capacitor
![]() |
มองดูเผินๆทั้ง วารีสเตอร์ และ ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคเป็นสีฟ้าทั้งคู่ บางคนมีคำถามว่าอุปกรณ์ตัวสีฟ้าๆนี้เป็นตัวอะไร วารีสเตอร์ หรือ C เซรามิค ?
มีข้อสังเกต 4 ข้อ เกี่ยวกับลักษณะของวาริสเตอร์ อ่านครบ 4 ข้อนี้จะสามารถแยกวารีสเตอร์ และ ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคได้เกือบทั้งหมด มีดังนี้
1. ข้อความที่ตัวอุปกรณ์
เบอร์ขึ้นต้นของวาริสเตอร์จะขึ้นต้นด้วย MOV ZOV TMOV ZOV CNR CVR TVR ZNR DNR TVR KVR VDR ผู้ผลิตแต่ละรายใช้อักษรเบอร์ขึ้นต้นต่างกัน
โดยอักษร V ย่อมาจาก Varistor
ยกตัวอย่าง MOV ZOV TMOV
MOV ย่อมาจาก Metal oxide varistors
ZOV ย่อมาจาก Metal Zinc Oxide varistors
TMOV ย่อมาจาก Thermally protected varistors
ผ่าให้ดูโครงสร้างข้างในของตัวต้านทานชนิดต่างๆ รูปตัวต้านทานคงที่ โครงสร้างของตัวต้านทาน
(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)
1. โครงสร้างตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม

โครงสร้างตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม ระหว่างแต่ละเกลียวจะเป็นร่องเป็นตัวกั้น ในรูปสีที่เคลือบเข้าไปในร่อง
2. โครงสร้างตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)