การอ่านค่าตัวเก็บประจุ Capacitor Code ช่วยอ่านค่า C อย่างรวดเร็ว วัดตัวเก็บประจุ พิสูจน์การอ่านค่า

ตัวความจุ   ຕົວເກັບປະຈຸ

ก่อนที่จะใช้  Capacitor Code  ช่วยอ่านค่า C  ขอทบทวนหลักการ 2 ประเด็นก่อน  ประเด็นแรก  % ค่าความคาดเคลื่อนของตัวเก็บประจุ
B  =   ± 0.1 pF
C  =   ± 0.25 pF
D  =   ± 0.5 pF
F  =   ± 1%
G  =   ± 2%
J   =   ± 5%
K  =   ± 10%
M  =  ± 20%
Z   =  +80% / -20%
B   C   D   นิยมใช้กับตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค


ประเด็นที่ 2  การระบุค่าความจุในที่นี้ขอแบ่งออกเป็น  3  แบบ

วิธีอ่านค่าตัวต้านทาน SMD 102 คือ ตัวต้าน 1K ohm และ รูปตัวต้านทาน  SMD


ตัวต้านทาน


รูปตัวต้านทาน  SMD พร้อมเฉลยค่าตัวต้านทาน
ตัวต้านทาน  SMD  มีขนาดเล็กทำให้ไม่มีพื้นพี่สำหรับพิมพ์ค่าวัตต์ ค่าความต้านทาน และ ค่า % ความคาดเคลื่อนเหมือนกับตัวต้านทานตัวใหญ่ๆ    พื้นที่สำหรับพิมพ์รหัสสีก็ไม่มีเช่นกันจึงใช้รหัสสีระบุสเปคไม่ได้  ค่าวัตต์ตัวต้านทาน SMD จะทราบได้จากรหัสขนาดโดยวัดความกว้าง ความยาว ความสูงแล้วดูค่าในตาราง    ยกตัวอย่างเช่นตัวต้านทานที่มีขนาด ยาวxกว้างxสูง  = 3.1x1.6x0.55mm มีชื่อเรียกเฉพาะตามมาตรฐาน EIA Size Code  ว่าขนาด Case Size  1206  จะมีวัตต์ =  1/4W   ถ้าใช้ขนาด Case Size ในการประมาณค่าวัตต์  ผู้ผลิตแต่ละรายอาจมีค่าวัตต์ตัวต้านทาน SMD ที่ไม่เท่ากันเปะแต่ก็จะมีค่าวัตต์ที่ใกล้เคียงกัน


(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)


ดูขนาดแล้วเทียบเป็นวัตต์ตามตารางนี้    

ขนาด ตัวต้านทาน  SMD


สำหรับค่าความต้านทาน และ  % ความคาดเคลื่อนบอกเป็นรหัสสั้นๆ   รหัสอาจเป็นรหัสตัวเลขล้วน หรือรหัสตัวเลขปนกับตัวอักษร 
โดยอักษร R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm
K  หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น   Kilo     Ohm     
M หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น   Mega  Ohm


รหัสบอกค่าความต้านทานแบ่งออกเป็น 2    แบบใหญ่ๆ   ดังนี้

1)  แบบ  3 Digit Marking  ใช้กับตัวต้านทาน SMD  ที่มีค่าความคาดเคลื่อน   ±5% 
เช่น   244  มีความหมายดังนี้  ตัวเลขแรกและตัวเลขที่สองเป็นตัวเลขตัวตั้ง   ตัวเลขที่สามเป็นตัวคูณ (10 ยกกำลัง หรือจำนวนเลข 0 )   ดูตัวอย่างกันเลย

244   =    24  x  10 ยกกำลัง 4  ( x 10000)    =  24 x 10000      =  240000   =  240 K ohm 
240   =    24  x  10 ยกกำลัง 0  ( x1  )           =  24 x 1 =  24     =  24  ohm   
105  =     10  x  10 ยกกำลัง 5  ( x 100000)  =  10x 100000     =  1000000  =  1000 K ohm  หรือ 1 M ohm
210  =      21  x  10 ยกกำลัง 0  ( x1 )       =     21x 1          =   21  ohm 
221  =      22  x  10 ยกกำลัง 1  ( x10)      =     22x10         =   220 ohm
101  =      10  x  10 ยกกำลัง 1  ( x10)      =     10x10         =  100     =   100  ohm  
102  =      10  x  10 ยกกำลัง 2  ( x100)    =     10x100       =  1000   =   1K  ohm
103  =      10  x  10 ยกกำลัง 3  ( x1000)  =     10x1000     =  1000   =   10K  ohm
2R2  =      2.2  ohm     , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm   , ถ้า K = K Ohm ,  M= Mega ohm
R22  =      0.22 ohm    , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm   , ถ้า K = K Ohm ,  M= Mega ohm
R50  =      0.50  ohm   , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm   , ถ้า K = K Ohm ,  M= Mega ohm
R33  =      0.33 ohm    , R หมายถึงจุด (.) และมีค่าเป็น Ohm   , ถ้า K = K Ohm ,  M= Meag ohm


ตัวต้านทาน SMD  รหัส 301
ตัวต้านทาน SMD  รหัส 301 =  30x10 = 300 ohm