ตัวต้านทานโครงข่ายและอาร์เรย์เป็นชุดของตัวต้านทานคือข้างในมีตัวต้านทานหลายตัวอาจมี 2 , 3 , 4 ,5 , 6 ,7 ,8 , 9 , 10 ตัว หรือมากกว่า เป็นต้น ตัวต้านทานข้างในเหล่านี้วางเรียงกันอย่างเป็นระเบียบ
อาจเชื่อมต่อกันเป็นวงจรตัวต้านทานตามแบบที่ต้องการ ถ้าเชื่อมต่อกันเรียก Bussed Circuit ถ้าตัวทานไม่เชื่อมต่อกันเรียกว่า Isolated Circuit วงจรข้างในมีหลายแบบขึ้นอยู่กับรุ่นของตัวต้านทานจะเป็นตัวกำหนดสเปค สิ่งที่ต้องพิจารณาคือมีจำนวนตัวต้านทานข้างในกี่ตัว ตำเหน่งขาของตัวตัวต้านทาน ลักษณะวงจรข้างในของตัวต้านทาน ขนาดความกว้างความยาวของตัวต้านทาน ถ้าสเปคไม่เหมือนกันก็ใช้แทนกันไม่ได้ เนื่องจากเป็นชุดตัวต้านทานสำเร็จรูปทำให้สะดวกในการนำไปใช้งานหรือออกแบบวงจร ตัวต้านทานข้างในมีหลายตัวขณะที่ใช้พื้นที่น้อยทำให้ประหยัดพื้นที่บนแผงวงจร PCB รูปร่างของตัวต้านทานมีทั้งแบบ SMD ซึ่งระบุรหัสค่าความต้านทานแบบตัวต้านทาน SMD แบบมีขาสองข้างเหมือน IC หรือ DIP แบบขาเรียง 1 แถวหรือ SIP ( Single inline package ) ถ้าตัวต้านทานมีขนาดใหญ่จะบุชื่อรุ่นและผู้ผลิตไว้ที่ตัวต้านทานเลยทำให้่ง่ายในการหารุ่นทดแทน ตัวทานชนิดนี้นิยมใช้งานในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Voltage Divider , Signal conditioning , R/2R Ladder Network , Data communication , Networking , Pull-up/Pull-Down Logic gate , portable test equipment เป็นต้น ลองสังเกตรูปร่างของตัวต้านทานและลักษณะวงจรข้างในตามด้านล่าง
(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)
ตัวต้านทานโครงข่ายชนิด Isolated Circuit
ไม่ได้เชื่อมต่อถึงกันหรือแยกกัน
ตัวต้านทานโครงข่ายชนิด Bussed Circuit
( เชื่อมต่อถึงกัน)
วงจรภายในของตัวต้านทานโครงข่ายมีหลายแบบต้องดูจาก Datasheet ผู้ผลิต
ยกตัวอย่างมาให้ดู 1 แบบ
ตัวต้านทานโครงข่ายแบบ SMD
ตัวต้านทานโครงข่ายแบบ SMD