วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การอ่านค่า L หรือ ตัวเหนี่ยวนำ ตอนที่ 1 อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

อ่านค่า  ตัวเหนี่ยวนำ  หรือ L

ตัวเหนี่ยวนำหรือ  L  มีหลายรูปแบบการอ่านค่าจะแตกต่างกันสำหรับแต่ละแบบ  เพื่อให้เข้าใจง่ายขอแยกเป็นตอน ๆ     ตอนแรกนี้จะกล่าวถึง    การอ่านค่า  L   4 แถบสี  การอ่านค่าคล้ายกับการอ่านค่าตัวต้านทาน   ถ้าอ่านค่า R เป็นก็จะอ่านค่า   L ได้อย่างรวดเร็ว  ความหมายของรหัสสีแสดงในตาราง
ข้อมูลในตารางอ้างอิงจากผู้ผลิต L ชั้นนำของโลกดูข้อมูลเพิ่มได้ที่ลิงค์ใต้ตาราง

อ่านค่า  ตัวเหนี่ยวนำ  หรือ L
 


ตัวอย่าง ที่  1   

จะสังเกตว่าแถบสีที่ 1 จะอยู่ชิดขอบมากที่สุด  โดย
แถบสีที่ 1  และแถบสีที่ 2 เป็นตัวตั้ง   แถบสีที่ 3  เป็นตัวคูณ   แถบสีที่ 4  เป็น % คาดเคลื่อน
ตัวคูณจะเหมือนกับค่าตัวคูณของตัวต้านทาน   จากรูปมีสี
สีน้ำตาล    สีดำ   สีเหลือง        สีทอง    ดูตัวเลขและความหมายจากตารางด้านบนและแทนค่าจะได้
           1     0       x  10000    =   100000µH   ให้อ่านค่าออกมาเป็น µH   สีทองคือมี  % คาดเคลื่อน  =  ±5 %     แปลงเป็นหน่วยที่ใหญ่กว่า 1 ระดับคือ mH  ให้หารด้วย 1000 หรือเลื่อนทศนิยมไปข้างหน้า 3 จุด      ดังนั้นจะได้    100000µH  =  100mH     ±5 %
เอาสินค้าจริงมาทำการวัดพิสูจน์วัดได้   99.6mH   ใกล้เคียงมาก  ถือว่าถูกต้อง
      ตัวเหนี่ยวนำ   inductor
                                                                     L  หรือ  ตัวเหนี่ยวนำ

ตัวเหนี่ยวนำ

ตัวเหนี่ยวนำ





ตัวอย่าง ที่  2  
 ตามรูปมีสี        แดง    แดง    ทอง        เงิน     ทำการแปลงรหัสสีได้
                          2        2         x   0.1    =    22x0.1  =  2.2µH  ให้อ่านออกมาเป็นหน่วย µH
สีเงินเป็น    % คาดเคลื่อน  =  ±10 %    ดังนั้นได้  2.2µH  ±10 %   ถือว่าถูกต้องตามถุงสินค้าที่ซื้อมา

                                     
ตัวเหนี่ยวนำ



ตัวเหนี่ยวนำ




ตัวอย่าง ที่  3  
 ตามรูปมีสี        แดง    แดง    น้ำตาล        ทอง     ทำการแปลงรหัสสีได้
                          2        2         x   10   =    22x10  =  220µH  ให้อ่านออกมาเป็นหน่วย µH
สีทองเป็น    % คาดเคลื่อน  =  ±5 %    ดังนั้นได้  220µH  ±5 %   ถือว่าถูกต้องตามถุงสินค้าที่ซื้อมา

ตัวเหนี่ยวนำ

ตัวเหนี่ยวนำ




ตัวอย่าง ที่  4  
 ตามรูปมีสี        น้ำตาล     ดำ      ดำ        เงิน    ทำการแปลงรหัสสีได้
                          1              0   x   1    =    10x1  =  10µH  ให้อ่านออกมาเป็นหน่วย µH
สีเงินเป็น    % คาดเคลื่อน  =  ±10 %    ดังนั้นได้  10µH  ±10 % ถือว่าถูกต้องตามถุงสินค้าที่ซื้อมา

ตัวเหนี่ยวนำ    Inductor

ตัวเหนี่ยวนำ



ตัวอย่าง ที่  5  
 ตามรูปมีสี        น้ำตาล     เขียว      ดำ        เงิน    ทำการแปลงรหัสสีได้
                          1              5        x   1    =    15x1  =  15µH  ให้อ่านออกมาเป็นหน่วย µH
สีเงินเป็น    % คาดเคลื่อน  =  ±10 %    ดังนั้นได้  15µH ±10 %  ถือว่าถูกต้องตามถุงสินค้าที่ซื้อมา

ตัวเหนี่ยวนำ


ตัวเหนี่ยวนำ Inductor



ตัวอย่าง ที่  6  
 ตามรูปมีสี        น้ำตาล     ดำ      น้ำตาล         เงิน    ทำการแปลงรหัสสีได้
                          1              0        x   10    =    10x10  =  100µH  ให้อ่านออกมาเป็นหน่วย µH
สีเงินเป็น    % คาดเคลื่อน  =  ±10 %    ดังนั้นได้  100µH   ±10 % ถือว่าถูกต้องตามถุงสินค้าที่ซื้อมา

ตัวเหนี่ยวนำ


                                 
ตัวเหนี่ยวนำ Inductor



ตัวอย่าง ที่  7  
 สำหรับตัวนี้แตกต่างจากตัวอย่างก่อนๆ เพราะเป็น L ที่ใช้รหัสตัวเลขในการบอกค่า
ทำการแปลงรหัสเหมือน R  ได้
 รหัสจากรูป  470   =    47 x   1  =   47µH       ให้อ่านออกมาเป็นหน่วย µH
K  =    %  คาดเคลื่อน  =  ±10 %    ดังนั้นได้  47µH    ±10 %     ทำการพิสูจน์โดยใช้เครื่องมือวัด L
จากรูปด้านล่างเครื่องวัดได้   0.05mH   แปลงเป็นหน่วยที่น้อยกว่า 1 ระดับคือ  µH  ให้เลือนจุดทศนิยมถอยหลังมา 3  จุด หรือ x  ด้วย 1000   ดังนั้น   0.05mH  =  50µH
สรุปค่าที่ได้จากการแปลงรหัสตัวเลข  47µH  ใกล้เคียงกับค่าที่เครื่องวัดได้  50µH ถือว่าถูกต้อง

ตัวเหนี่ยวนำ

ตัวเหนี่ยวนำ