วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

เรื่องน่ารู้ สเปค เทอร์โมฟิวส์ พัดลม กระติกน้ำร้อน (Thermal Fuse)

เทอร์โมฟิวส์



เทอร์โมฟิวส์ใช้ป้องกันไฟไหม้จากความร้อนเกินที่เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า     เทอร์โมฟิวส์ถูกนำใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านหลายอย่าง    เช่น   พัดลม   หม้อหุงข้าวไฟฟ้า   กระติกน้ำร้อน     ฮีทเตอร์ไฟฟ้า  กระทะ  เตารีด  ไดร์เป่าผม  เครื่องปรับอากาศ   ตู้เย็น  เตาปิ้ง  เครื่องชงกาแฟ  เครืองชาร์จแบตเตอรี่ และ   อื่นๆ   ภาษาไทยเรียก  เทอร์โมฟิวส์  ส่วนภาษาอังกฤษใช้คำว่า  Thermal Cutoffs  ใช้คำย่อว่า TCO     เทอร์โมฟิวส์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ครั้งเดียวคือถ้ามันทำงานแล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้งานใหม่     แล้วมันแตกต่างจากฟิวส์อย่างไร  ?      ฟิวส์ที่เรารู้จักและคุ้นเคยกันมีชื่อเต็มว่า Current Fuse  ระบุสเปคเป็นแอมป์   เช่น 1A  5A  10A  เป็นต้น ฟิวส์แบบนี้จะทำงานเมื่อเกิดกระแสเกินในวงจรและมีกระแสไหลมากเกินพิกัดของฟิวส์และชิ้นส่วนฟิวส์ข้างในก็จะหลอมละลายเพื่อตัดวงจรหรือเปิดวงจรไฟฟ้า ( กระแสเกินเกิดจากโอเวอร์โหลดและกระแสลัดวงจร)    ส่วนเทอร์โมฟิวส์จะทำงานหรือตัดวงจรเมื่อมีอุณหภูมิแวดล้อมเพิ่มสูงถึงอุณหภูมิทำงานของเทอร์โมฟิวส์ ( Rated Functioning Temperature )
ในสภาวะอุณหภูมิปกติก็จะมีกระแสไหลผ่านเทอร์โมฟิวส์ได้เป็นปกติ  ข้างในเทอร์โมฟิวส์มีวัสดุที่ไวต่ออุณหภูมิและมันจะละลายเมื่อมีอุณหภูมิแวดล้อมเพิ่มสูงถึงอุณหภูมิทำงาน  คำเตือนของผู้ผลิตเทอร์โมฟิวส์คือห้ามใช้เทอร์โมฟิวส์แทนฟิวส์กระแส (Current Fuse ) เพราะมันจะทำงานผิดปกติ หรือ ไม่ทำงานเหมือนฟิวส์     ห้ามใช้เทอร์โมฟิวส์ในงานอื่นๆนอกจากใช้ป้องกันไฟไหม้จากความร้อนเกินเท่านั้น ขอบเขตการใช้งานตามที่ระบุไว้ในเอกสารผู้ผลิตคือให้ใช้ในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน  ระบบอัตโนมัติที่ใช้ในออฟฟิศ  ระบบภาพ ระบบเสียง เป็นขอบเขตการใช้งานหลัก  ส่วนงานที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ช่วยชีวิต งานสนับสนุนความปลอดภัยอื่นๆที่เกียวข้อง  งานอุปกรณ์ในงานอวกาศ  งานนิวเคลียร์  งานควบคุมเครื่องจักรที่ใช้ในการขนส่งเขาห้ามใช้เพราะมันมีประเด็นเรื่องความปลอดภัย  ประการสุดท้ายห้ามใช้เทอร์โมฟิวส์ในน้ำ  สารละลาย หรือของเหลวอื่นๆ  บริเวณที่มีก๊าซไนตรัส ก๊าซซัลเฟอร์  และบริเวณที่มีความชื้นสูงก็ห้ามใช้เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณสมบัติและการทำงานของเทอร์โมฟิวส์ทำงานผิดปกติและมันอาจไม่ตัดวงจรแม้อุณภูมิจะสูงถึงจุดทำงานตามสเปคแล้วก็ตาม


สเปคของเทอร์โมฟิวส์
เพื่อความปลอดภัยต้องใช้เทอร์โมฟิวส์สเปคเดิมเท่านั้น ใน Datasheet มีอธิบายสเปคไว้หลายแต่จะขอกล่าวถึงเพียง 3 อย่างที่จำเป็นสำหรับงานซ่อมเท่านั้น

1) พิกัดกระแสไฟ  ( Rated Current )  กระแสที่ผลิตใช้งานตามที่ปรากฏในสเปคผู้ผลิตมี  0.5A  1A   2A  10   15A  ห้ามใช้หรือให้กระแสไหลกินพิกัดกระแสของเทอร์โมฟิวส์   ให้ใช้งานจุดที่ต่ำกว่าพิกัดกระแสไฟเท่านั้น

2) พิกัดแรงดันไฟฟ้า ( Rated Voltage )  ส่วนมากที่ตัวเทอร์โมฟิวส์ระบุ  250VAC สำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านเรา  ต้องใช้งานในงานที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่าพิกัดแรงดันไฟฟ้าของเทอร์โมฟิวส์เท่านั้น การใช้งานนอกจากนี้จะไม่ปลอดภัย

3)  อุณหภูมิทำงานหรืออุณหภูมิตัด ( Rated Functioning Temperature ) ใช้คำย่อ TF หรือ Tf  มีใช้คำย่อทั้ง 2 แบบ   เมื่ออุณหภูมิสูงถึงอุณหภูมิทำงานของเทอร์โมฟิวส์วัสดุที่ไวต่อความร้อนซึ่งอยู่ด้านในจะละลายและตัดวงจรไฟฟ้าในที่สุด
     
เทอร์โมฟิวส์
                                                     ตัวอย่าง พิกัดกระแสไฟของเทอร์โมฟิวส์ 10A



เทอร์โมฟิวส์    พิกัดแรงดันไฟฟ้า   250VAC
ตัวอย่าง   พิกัดแรงดันไฟฟ้าของเทอร์โมฟิวส์  250VAC

เทอร์โมฟิวส์   อุณหภูมิทำงานหรืออุณหภูมิตัด   160 °C
ตัวอย่าง อุณหภูมิทำงานหรืออุณหภูมิตัด ของเทอร์โมฟิวส์  ตามรูปนี้ 160 °C


อุณหภูมิทำงานหรืออุณหภูมิตัด เทอร์โมฟิวส์  ใช้คำย่อ TF หรือ Tf
อุณหภูมิทำงานหรืออุณหภูมิตัด  ใช้คำย่อ TF หรือ Tf  


     
เทอร์โมฟิวส์
                                  สเปคของของเทอร์โมฟิวส์  พิมพ์ไว้ 172°C 10A  250VAC




เทอร์โมฟิวส์  พิมพ์ไว้ ตามรูป 227°C 10A  250VAC
สเปคของของเทอร์โมฟิวส์  พิมพ์ไว้ ตามรูป 227°C 10A  250VAC

      
เทอร์โมฟิวส์
                                                    รุ่นของของเทอร์โมฟิวส์  พิมพ์ไว้ SF169E




เทอร์โมฟิวส์
                                                                                      เทอร์โมฟิวส์



50   เรื่อง    น่ารู้    เลือกหัวข้อ   เพื่ออ่านเพิ่ม    
     อ่าน 60 เรื่องต่อ เลื่อนหน้า  >  ด้านล่างสุด ( สำหรับมือถือ )