วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

การอ่านค่า L หรือ ตัวเหนี่ยวนำ แบบ SMD การอ่านค่า L ตอนที่ 2 อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน

ตัวเหนี่ยวนำ



L  แบบ SMD ตามรูปในบทความนี้เรียกว่า SMD  Power  Inductors  จะมีขนาดใหญ่ขึ้นมา ข้างในทำจากเส้นลวด (Wirewound)  พันรอบแกนเฟอร์ไรต์  ส่วน   L   SMD  อีกแบบที่เป็นตัวสี่เหลี่ยมเหมือน R  SMD  เรียกว่า   Chip Inductors    ขนาดของ L ค่อนข้างหลากหลายมีทั้งแบบขนาดมาตรฐานและแบบไม่มาตรฐานผลิตขึ้นเพื่อให้ได้ค่า L ตามที่วงจรต้องการ

%  ความคาดเคลี่อนของ   L

J    =  ±5 %
K   =  ±10 %
L   =   ±15 %
M  =  ±20 %
V   =  ±25 %
N   =  ±30 %

วิธีการอ่านค่า  L  แบบ  SMD Power Inductors 

มีวิธีการอ่านค่าเหมือนกับ R  โดย ตัวเลขที่ 1  และตัวเลขที่ 2  เป็นตัวเลขตัวตั้ง   ตัวเลขที่ 3  เป็นตัวคูณ
( หรือจำนวนเลขศูนย์ )  ตามด้วยตัวอักษรบอก % ค่าความคาดเคลื่อนซึ่งอธิบายไว้แล้วตามข้อมูลด้านบน     ให้อ่านหน่วยออกมาเป็น   μH

ตัวอย่างที่  1  
ที่ตัว  L   มีรหัสตัวเลข   331  ทำการอ่านค่าได้    33 x   10  =  330 μH   ใช้เครื่องวัดพิสูจน์ค่า  อ่านได้
0.33mH     ( ความสามารถของเครื่องวัดที่มีวัด L ได้น้อยสุดเป็นหน่วย mH )  ทำการแปลงเป็นหน่วยที่เล็กกว่า 1 ระดับได้โดยคูณด้วย 1000      ดังนั้น  0.33mH x 1000 =  330μH
สรุปค่าที่อ่านได้จากรหัสตัวเลข  และค่าที่เครื่องวัดได้เท่ากันจึงถูกต้อง

         
ตัวเหนี่ยวนำ
                                                              ตัวเหนี่ยวนำ    แบบ  SMD


ตัวเหนี่ยวนำ




ตัวอย่างที่  2  
ที่ตัว  L   มีรหัสตัวเลข   330  ทำการอ่านค่าได้    33 x   1  =  33 μH   ใช้เครื่องวัดพิสูจน์ค่า  อ่านได้
0.33mH     ( ความสามารถของเครื่องวัดที่มีวัด L ได้น้อยสุดเป็นหน่วย mH )  ทำการแปลงเป็นหน่วยที่เล็กกว่า 1 ระดับได้โดยคูณด้วย 1000      ดังนั้น  0.33mH x 1000 =  33μH
สรุปค่าที่อ่านได้จากรหัสตัวเลข  และค่าที่เครื่องวัดได้เท่ากันจึงถูกต้อง

ตัวเหนี่ยวนำ

ตัวเหนี่ยวนำ




ตัวอย่างที่  3  
ที่ตัว  L   มีรหัสตัวเลข   101  ทำการอ่านค่าได้    10 x   10  =  100 μH   ใช้เครื่องวัดพิสูจน์ค่า  อ่านได้
0.10mH     ( ความสามารถของเครื่องวัดที่มีวัด L ได้น้อยสุดเป็นหน่วย mH )  ทำการแปลงเป็นหน่วยที่เล็กกว่า 1 ระดับได้โดยคูณด้วย 1000      ดังนั้น  0.10mH x 1000 =  100μH
สรุปค่าที่อ่านได้จากรหัสตัวเลข และค่าที่เครื่องวัดได้เท่ากันจึงถูกต้อง

ตัวเหนี่ยวนำ

ตัวเหนี่ยวนำ


 



ตัวอย่างที่  4  
ที่ตัว  L   มีรหัสตัวเลข   4R7     R หมายถึงจุดทศนิยม   ทำการอ่านค่าได้ 4.7μH   ค่าน้อยระดับนี้เครื่องวัดที่มีไม่สามารถวัดค่าได้

ตัวเหนี่ยวนำ


ตัวอย่างที่  5  
ที่ตัว  L   มีรหัสตัวเลข   R78N    R หมายถึงจุดทศนิยม   ทำการอ่านค่าได้  0.78μH       มี % ค่าความคาดเคลื่อน   N =   ± 30%


ตัวอย่างที่  6  
ที่ตัว  L   มีรหัสตัวเลข   222M   ทำการอ่านค่าได้    22 x   100  =  2200 μH    มี  % ค่าความคาดเคลื่อน
M  =  ±20 %


จากการสำรวจข้อมูลในตลาดส่วนใหญ่แล้วการอ่านค่า L จะเป็นไปตามตัวอย่างข้างต้น แต่มีข้อยกเว้นและมีโอกาสพบน้อย คือผู้ผลิตบางรายกำหนดให้อ่านค่า L  ออกมาเป็นหน่วย mH  ( ตามตัวอย่างทั้งหมดให้อ่านค่าออกมาเป็น μH )   กรณีแบบนี้ก็ให้ยึดตามผู้ผลิตรายนั้น ๆ   แจ้งให้ทราบไว้เผื่อมีการอ่านค่า L ที่ไม่เป็นไปตามหลักการส่วนใหญ่ที่นิยมกัน