การอ่านค่าตัวเก็บประจุแทนทาลัมและหน่วยของตัวเก็บประจุที่ระบุไว้ที่ตัวอุปกรณ์
การอ่านค่า ตัวเก็บประจุแทนทาลัมแนวตั้ง แบ่งออกเป็น 2 แบบตามลักษณะข้อมูลที่ตัว C ก่อนที่จะดูตัวอย่าง ขอกล่าวถึงรหัสแรงดันของตัวเก็บประจุแทนทาลัมแนวตั้งก่อน เพราะจำเป็นต้องใช้อ้างอิงในตัวอย่างที่ 2.1 - 2.3
1. ระบุค่าความจุเป็นตัวเลขตรง ๆ มีหน่วยเป็น μF และพิกัดแรงก็ระบุเป็นตัวเลขตรง ๆ เช่นกัน มีหน่วยเป็น V ดูตัวอย่างตามรูป 100 = 100μF , 16 = 16V
เครื่องวัดได้ 110.7μF ถือว่าใกล้เคียง ตัวนี้ทราบข้อมูลแน่ชัดเพราะตอนซื้อคนขายก็บอก 100μF 16V ตัวละ 38 บาท
ตัวเก็บประจุแทนทาลัม 100μF 16V
รหัสแรงดันตัวเก็บประจุแทนทาลัมแนวตั้ง |
1. ระบุค่าความจุเป็นตัวเลขตรง ๆ มีหน่วยเป็น μF และพิกัดแรงก็ระบุเป็นตัวเลขตรง ๆ เช่นกัน มีหน่วยเป็น V ดูตัวอย่างตามรูป 100 = 100μF , 16 = 16V
เครื่องวัดได้ 110.7μF ถือว่าใกล้เคียง ตัวนี้ทราบข้อมูลแน่ชัดเพราะตอนซื้อคนขายก็บอก 100μF 16V ตัวละ 38 บาท
ตัวเก็บประจุแทนทาลัม 100μF 16V
2. ระบุเป็นรหัสตัวเลข ตัวเลขตัวแรก และ ตัวเลขตัวที่ 2 เป็นตัวเลขตัวตั้ง ตัวเลขตัวที่ 3 เป็นตัวคูณ หรือ จำนวนเลข 0 ให้อ่านค่าออกมาเป็นหน่วย pF
ตัวอย่างที่ 2.1
ตามรูปด้านล่างมีรหัสค่าความจุ 474 อ่านค่าได้
47 x 10000 = 470000pF แปลงเป็นหน่่วยที่ใหญ่กว่า 1 ระดับ โดยการหารด้วย 1000 หรือเลื่อนจุดนิยมไปข้างหน้า 3 จุดจะได้
470000pF = 470nF ตัวอักษร L ที่ตัว C ในตัวอย่างนี้ไม่ใช่รหัสแรงดันแต่ L = Lead free เป็นชื่อมาตรฐานที่บอกว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตัวนี้ผ่านมาตรฐาน Lead free ( ไม่มีสารอันตรายหลายอย่างที่มาตรฐานกำหนดไว้ )
ตามรูปด้านล่างเครื่องวัดได้ 456.1nF
สรุป ค่าที่อ่านได้ใกล้เคียงกับค่าที่เครื่องวัดได้ถือว่าถูกต้อง
เครื่องวัดได้ 456.1 nF
ตัวอย่างที่ 2.2
ตามรูปด้านล่างมีรหัสค่าความจุ 475 อ่านค่าได้
47 x 100000 = 4700000pF แปลงเป็นหน่่วยที่ใหญ่กว่า 1 ระดับ โดยการหารด้วย 1000 หรือเลื่อนจุดนิยมไปข้างหน้า 3 จุดจะได้
4700000pF = 4700nF ตัวอักษร F เป็นรหัสแรงดัน ดูตามตารางรหัสแรงดันด้านบนสุด
F = 10V ตามรูปด้านล่างเครื่องวัดได้ 4459nF
สรุป ค่าที่อ่านได้ใกล้เคียงกับค่าที่เครื่องวัดได้ถือว่าถูกต้อง
ตัวเก็บประจุแทนทาลัม 4700nF 10V
เครื่องวัดได้ 4459nF
ตัวอย่างที่ 2.3
ตามรูปด้านล่างมีรหัสค่าความจุ 226 อ่านค่าได้
22 x 1000000 = 22000000pF แปลงเป็นหน่่วยที่ใหญ่กว่า 1 ระดับ โดยการหารด้วย 1000 หรือเลื่อนจุดนิยมไปข้างหน้า 3 จุดจะได้
22000000pF = 22000nF = 22μF
ตัวอักษร H เป็นรหัสแรงดัน ดูตามตารางรหัสแรงดันด้านบนสุด
H = 15V ตามรูปด้านล่างเครื่องวัดได้ 22.81μF
สรุป ค่าที่อ่านได้ใกล้เคียงกับค่าที่เครื่องวัดได้ถือว่าถูกต้อง
เครื่องวัดได้ 22.81μF
ตามรูปด้านล่างมีรหัสค่าความจุ 226 อ่านค่าได้
22 x 1000000 = 22000000pF แปลงเป็นหน่่วยที่ใหญ่กว่า 1 ระดับ โดยการหารด้วย 1000 หรือเลื่อนจุดนิยมไปข้างหน้า 3 จุดจะได้
22000000pF = 22000nF = 22μF
ตัวอักษร H เป็นรหัสแรงดัน ดูตามตารางรหัสแรงดันด้านบนสุด
H = 15V ตามรูปด้านล่างเครื่องวัดได้ 22.81μF
สรุป ค่าที่อ่านได้ใกล้เคียงกับค่าที่เครื่องวัดได้ถือว่าถูกต้อง
C แทนทาลัม 22μF 15V
เครื่องวัดได้ 22.81μF
50 เรื่องน่ารู้ เพื่ออ่าน ด้านล่างนี้
- ตัวเก็บประจุ คาปาซิเตอร์ (20)
- ตัวต้านทาน รีซิสเตอร์ (22)
- ตัวเหนี่ยวนำ อินดักเตอร์ (6)
- ฟิวส์ FUSE (5)
- อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ (20)