ตัวต้านทาน SMD ขอเริ่มด้วยด้วยคำว่า SMD ย่อมาจก Surface Mount Device แปลว่าอุปกรณ์เชื่อมเปะติดบนพื้นผิ ว บางครั้งเรียกว่า SMT Resistor โดย SMT ย่อมากจาก Surface Mount Technology มีความหมายสื่อถึงวิธีการเชื่ อมติดเปะอุปกรณ์บนพื้นผิว และบางครั้งก็เรียกว่าตัวต้ านทานแบบ Chip ( Chip Resistor ) ทั้งนี้ก็เนื่องจากมันมีลั กษณะเป็นแผ่นสีเหลี่ยมเหมือน Chip นั้นเอง
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นพกพาสะดวกต้องทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก R แบบ SMD มีขนาดเล็ก จีงทำให้ประหยัดพื้นที่และลดขนาดของ PCB
(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นพกพาสะดวกต้องทำให้เครื่องมีขนาดเล็ก R แบบ SMD มีขนาดเล็ก จีงทำให้ประหยัดพื้นที่และลดขนาดของ PCB
(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)
รูปแสดงการใช้งานตัวต้านทาน SMD ในวงจร
ตัวต้านทาน SMD ส่วนใหญ่จะสีดำและมีตัวเลขพิมพ์ไว้บอกค่าความต้านทานขณะที่ตัวเก็บประจุแบบ SMD ส่วนใหญ่จะเป็นสีน้ำตาลและไม่มีตัวเลขที่ตัวเก็บประจุ
ที่ลายวงจรจะพิมพ์ตัวอักษรไว้ให้เรารู้ว่าเป็น R SMD หรือ C SMD
ถ้าเป็น R SMD จะพิมพ์ไว้ขึ้นต้นด้วย R ตัวอย่าง เช่น R1 R2 R3 เป็นต้น
ถ้าเป็น C SMD จะพิมพ์ไว้ขึ้นต้นด้วย C ตัวอย่าง เช่น C1 C9 เป็นต้น
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเก่ าจะมีขายาวประโยชน์ของขายาวคื อเอาไว้บัดกรีและต่อใช้งาน การใช้ งานต้องเจาะ PCB เป็นรูแล้วเอาขาอุปกรณ์เสียบเข้ าไปจากนั้นบัดกรีเชื่อมต่อด้วยตะกั่วซึ่งการบัดกรีจะอยู่อีกด้านกับอุปกรณ์ จะสังเกตว่ามีขั้นตอนเยอะและอาจเพิ่มความยากและเพิ่มต้นทุ นในการผลิต วิธีนี้เหมาะใช้กับอุปกรณ์ที่มีขนาดใหญ่ซึ่งต้องการการยึดอย่ างดีเพราะมีกระแสไหลผ่านสูงและมีความร้อนสูง ถ้าเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กการบั ดกรีโดยตรงบนพื้นผิ ววงจรจะสะดวกและรวดเร็วกว่า
แสดงการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในแผงวงจรที่มีการเจาะรูเพื่อยึดและต่อขาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
แสดงการติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบ SMD บนแผงวงจร
แสดงรูปตัวทานแบบ SMD ขนาดมาตรฐาน
จะพิมพ์รหัสตัวเลขบอกค่าความต้านทาน
แสดงรูปตัวทานแบบ SMD ตัวใหญ่วัตต์สูง
SMD Moulded Power Resistor 1W 2W 3W มีขนาดใหญ่พี้นที่เยอะสามารถพิมพ์ชื่อรุ่น
และสเปคลงบนตัวต้านทานได้เลย
วัสดุที่ใช้ทำตัวต้านทาน SMD
วัสดุที่ใช้ทำตัวต้านทาน SMD ที่นิยมมากมี 3 อย่าง
1) Thick film มีวัตต์สูงกว่าและทนแรงดันเสิ ร์จได้มากกว่า แบบ Thin Film ราคาถูกกว่าแบบ Thin Film ตัวอย่างการใช้งานเช่น วงจรแบตเตอรี่ หรือวงจรที่ต่อไฟจากปลั๊กไฟ AC
2) Thin Film มีสัมประสิทธิ์อุณหภูมิต่ำ มีสัญญาณรบกวนต่ำ มีค่าความจุและความเหนี่ ยวนำแผงต่ำกว่าแบบ Thick film เหมาะกับการใช้งานที่ความถี่สู ง
ตัวอย่างการนำไปใช้งานเช่น วงจรเครื่องมือแพทย์ วงควบคุมความเที่ยงตรงสูง วงจรเครื่องมือวัด วงจรเครื่องเสียง เป็นต้น ตัวต้านทานชนิดนี้มีราคาสูงกกว่ าแบบ Thick film
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Thick film และ Thin Film SMD Resistor คลิก
3) Metal film ใช้ทำตัวต้านทาน SMD ที่มีขนาดใหญกว่า 2 แบบด้านบนมีชื่อเรียกว่า SMD Moulded Power Resistor 1W 2W 3W และอีกแบบที่พบ เป็น R SMD แบบทรงกระบอกมีชื่อเฉพาะเรียกว่ า MELF resistor
นอกจากวัสดุทั้ง 3 อย่างที่กล่าวแล้วยังมีตัวต้ านทาน SMD ที่ใช้วัสดุอื่นๆทำเช่น ไวร์วาวด์ , Carbon Film , Metal Foil
วัสดุที่ใช้ทำต่างกัน ตัวต้านทานก็จะมีคุณสมบัติที่ แตกต่างกัน สามาถเลือกใช้งานตามชนิ ดของวงจรได้
ตัวต้านทาน SMD มีสเปคเหมือนตัวต้านทานทั่วไปคื อมีค่าความต้านทาน ค่า % ความคลาดเคลื่อน และ ค่าวัตต์ ยิ่งตัวตัานทานมีขนาดใหญ่วัตต์ ของตัวต้านทานก็จะวัตต์สูงตามไปด้วย ขนาดของตัวต้านทานจะบอกเป็นรหั สตัวเลขตามในตาราง เวลาซื้อตัวต้านทานต้องระบุรหั สขนาดด้วย ถ้าไม่ทราบก็สามารถวัดขนาด ความยาวxความกว้างxความสูง หรือเอาขนาดที่วัดได้ไปเที ยบในตารางเพื่อหารหัสขนาดตามมาตรฐาน EIA Size Code เช่น ตัวต้านทานวัดขนาดได้ ยาวx กว้างxสูง = 2x1.25x0.5mm มีชื่อรหัสขนาดมาตรฐานคือ 0805 เวลาซื้อก็บอกคนขายว่า ต้องการ R SMD Size 0805 จากนั้นบอกค่าโอห์มที่ต้องการ
50 เรื่อง น่ารู้ เพื่อ อ่านต่อ
- ตัวเก็บประจุ คาปาซิเตอร์ (20)
- ตัวต้านทาน รีซิสเตอร์ (22)
- ตัวเหนี่ยวนำ อินดักเตอร์ (6)
- ฟิวส์ FUSE (5) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อื่นๆ (20)