วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

เปรียบเทียบชนิดของตัวต้านทาน ให้ดูชัดๆ ป้องกันการระบุชนิด R ผิด รูปตัวต้านทานค่าคงที่หรือตัวต้านทานคงที่

ตัวต้านทาน   ຕົວຕ້ານທານ   រេស៊ីស្តង់
                                                      เปรียบเทียบชนิด ตัวต้านทาน   

ชนิดของตัวทานค่าคงที่และรูปตัวต้านทานจำนวนมากดูเพื่อเปรียบเทียบช่วยให้เข้าใจง่าย
เราทราบกันดีแล้วว่าตัวต้านทานมีหลายชนิด   ในทางปฏิบัติมี   R  ที่สีคล้ายๆกันจึงเป็นปัญหาในการแยกชนิดตัวต้านทานในบางครั้ง  สำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวข้องกับตัวต้านทานหลายๆแบบจะไม่มีปัญหาเรื่องนี้แต่กลับกันสำหรับมือใหม่หลายครั้งพบว่าการระบุชนิดตัวต้านทานนั้นจำเป็นต้องหาประสบการณ์และข้อมูลเพิ่มเติม  จากการสำรวจตลาดเราได้รวบรวม R แบบต่างๆที่มีขายแล้วแยกเป็นกลุ่มๆ ไม่ปนกัน  จากนั้นทำการเปรียบเทียบให้ดูแบบชัดๆ  มีรูปประกอบจำนวนมากช่วยให้เข้าใจง่ายและสามารถย้อนกลับมาดูเมื่อต้องการศึกษาได้ตลอดเวลา  ก่อนที่จะทำการเปรียบเทียบขอเริ่มต้นด้วยการดูรูป   R ชนิดต่างๆก่อน  การเปรียบเทียบจะอยู่ในช่วงท้าย  จะนำมากล่าวในบทความนี้เพียง 5 ชนิดเท่านั้น คือ  ต้านทานชนิดผงคาร์บอน   ต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน   ตัวต้านทานเมตัลฟิล์ม   ตัวต้านทานทนความร้อน  หรือ  Metal Oxide Film Resistor  และ  ตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์

(ชนิดของตัวต้านทานให้กดดูที่หมวดหมู่ตัวต้านทาน ปุ่มอยู่ตรงด้านข้างจะมีรูปเป็นจำนวนมากให้ดู)


1.   ตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน  ( Carbon Composition  Resistor  )

carbon resistor  ຕົວຕ້ານທານ  ต้านทานชนิดผงคาร์บอน  រេស៊ីស្តង់   Carbon Composition  Resistor
ลักษณะตัวต้านทานชนิดผงคาร์บอน

2.   ตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน  ( Carbon Film  Resistor  )

รูปตัวต้านทาน     ชนิดฟิล์มคาร์บอน
                                                     ลักษณะตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน



3.   ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม  (  Metal  Film   Resistor )

รูปตัวต้านทาน   ชนิดเมตัลฟิล์ม   ຕົວຕ້ານທານ
                                                     ลักษณะตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม

 4.   ตัวต้านทานทนความร้อน  หรือ  Metal Oxide Film Resistor


ตัวต้านทาน    ตัวต้านทานทนความร้อน  ຕົວຕ້ານທານ  រេស៊ីស្តង់
                                ลักษณะ    ตัวต้านทานทนความร้อน  หรือ  Metal  Oxide  Film Resistor  


ตัวต้านทาน ตัวต้านทานทนความร้อน    Metal Oxide Film Resistor
                  ลักษณะ    ตัวต้านทานทนความร้อน  หรือ  Metal  Oxide  Film  Resistor  


5.   ตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์  (  Wirewound  Resistor )


ตัวต้านทาน   ตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์   រេស៊ីស្តង់
ลักษณะตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์  ตัวที่มีแถบสีก็เป็น  R  ไวร์วาวด์ ที่ทราบเพราะ Datasheet สเปคระบุไว้และซื้อตัวอย่างมาดูว่า ตัวต้านทานไวร์วาวด์ แบบแถบสีก็มีเช่นกัน


ตัวต้านทาน   ຕົວຕ້ານທານ រេស៊ីស្តង់  Резистор

                         ลักษณะตัวต้านทานชนิดไวร์วาวด์    วัตต์สูงขึ้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้น


ตอนที่ 2 จะทำการเปรียบเทียบระหว่างตัวต้านทาน 2 ชนิด

1. เปรียบเทียบรูประหว่างตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มและ  R ทนความร้อน
รูปแรกที่อยู่ในเทปกระดาษเป็นตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม  จะสังเกตว่า  R ทนความร้อนจะมีลักษณะสีที่หลากหลายและสีผิวจะด้าน ( ไม่มันวาว)

ตัวต้านทาน  Resistor   ຕົວຕ້ານທານ  Резистор  រេស៊ីស្តង់
ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มและ  R ทนความร้อน รูปแรกที่อยู่ในเทปกระดาษคือตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม จะมีลักษณะมันวาวแสง  ส่วน R ทนความร้อนจะมีลักษณะสีที่หลากหลายและสีผิวจะด้าน ( ไม่มันวาว)

ตัวต้านทาน
ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม  และ  R ทนความร้อน รูปแรกที่อยู่ในเทปกระดาษคือตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม จะมีลักษณะมันวาวแสง  ส่วน  R ทนความร้อนสีผิวจะด้าน ( ไม่มันวาว)


2.  เปรียบเทียบรูประหว่างตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มและตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอน
ตัวต้านทาน  2  ชนิดนี้จะมีลักษณะมันวาวแสงทั้งคู่ แต่ส่วนใหญ่แล้วตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มจะมีสีน้ำเงินและสีฟ้าอ่อน    ส่วนตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนจะเป็นสีครีมตามรูปด้านล่างฝั่งขวามือ

ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์ม  ตัวต้านทานฟิล์มคาร์บอน
ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มจะมีสีน้ำเงินและสีฟ้าอ่อน  
ส่วนตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนจะสีครีม ( รูปด้านขวามือ)




ตัวต้านทาน  Resistor

ตัวต้านทานชนิดเมตัลฟิล์มจะมีสีน้ำเงินและสีฟ้าอ่อน( รูปล่าง)   
ส่วนตัวต้านทานชนิดฟิล์มคาร์บอนจะเป็นสีครีม ( รูปบน )





รู้เรื่อง " คาปาซิเตอร์ " มากขึ้นกว่าเดิม !  อ่านที่นี้    คลิกที่รูปจะไปยังหัวข้อ Capacitor 

คาปาซิเตอร์  ตัวเก็บประจุ   ຕົວເກັບປະຈຸ