ตัวเก็บประจุ ชนิดเซรามิค ( Ceramic Capacitor ) คาปาซิเตอร์ เซรามิค



ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคเป็นตัวเก็บประจุมีค่าความจุคงที่และไม่มีขั้ว   ใช้เซรามิคทำหน้าที่เป็นฉนวนไดอิเล็กตริกข้างใน    อาจมีเซรามิค 2 ชั้นหรือมากกว่าที่เรียกว่า Multilayer
ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคมีทั้งสีฟ้า และสีน้ำตาลที่ตัว C จะระบุค่าความจุและพิกัดแรงดัน


รูปแสดงตัวอย่างการใช้งานตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค
ลักษณะตัวเก็บประจุส่วนใหญ่จะแบนและกลมภาษาอังกฤษเรียกว่า   disc ceramic capacitor
มีทั้งสีน้ำตาลและสีฟ้า


ตัวเก็บประจุ   ชนิดต่างๆ


ตัวเก็บประจุ ชนิดเซรามิค  Ceramic Capacitor






ตัวเก็บประจุ  ຕົວເກັບປະຈຸ  kapasitor  Condensador  конденсатор
                                       ตัวเก็บประจุ ชนิด  เซรามิค   Ceramic Capacitor 

ตัวเก็บประจุ  ຕົວເກັບປະຈຸ  kapasitor  Condensador  конденсатор
                                   ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค   Ceramic Capacitor 


ตัวเก็บประจุ ชนิด  เซรามิค   Ceramic Capacitor

ตัวเก็บประจุ  ตัวเก็บประจุ ชนิดเซรามิค
                                     ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค   Ceramic Capacitor 



รุปแสดงตัวอย่างการใช้งานตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคในวงจร


แผง วงจร  PCB



คุณสมบัติของเซรามิคเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติทางไฟฟ้าและประเภทการใช้งาน
การใช้งานตัวเก็บประจุแบบเซรามิคแบ่งเป็น 2 ระดับหรือคลาส

1)  ตัวเก็บประจุเซรามิค Class 1   มีคุณสมบัติเสถียรสูง การสูญเสียน้อย  ใช้สำหรับวงจรรีโซแนนซ์  มีสัมประสิทธิ์อุณหภูมิเกือบเป็นเชิงเส้น ค่าความจุแทบจะไม่เปลี่ยนตามแรงดัน  คุณสมบัตินี้เหมาะกับวงจรฟิลเตอร์ที่เน้นค่า Q สูง (high Q filters)  เช่น   วงจรออสซิลเลเตอร์  วงจรรีโซแนนซ์     คำศัทพ์ที่ใช้บอกสเปคหรือคุณสมบัติของ Class 1   ใน Datasheet ใช้คำว่า  NP0/CG/C0G    

2)  ตัวเก็บประจุเซรามิค Class 2  เน้นคุณสมบัติมีค่าความจุต่อพื้นที่สูง  มีความเสถียรและความถูกต้องน้อยกว่าแบบแรก ( Class 1)   ใช้สำหรับวงจรบัพเฟอร์  วงจรบายพาส วงจรคัปปลิ้ง   มีการเปลี่ยนแปลงค่าความจุทีไม่เป็นเชิงเส้นตลอดช่วงอุณหภูมิ    แรงดันยังทำให้ค่าความจุเปลี่ยนค่าด้วย   ตามมาตรฐาน EIA RS-198 ตัวเก็บประจุเซรามิค Class 2  จะแบ่งย่อยได้อีกโดยใช้รหัสตามตาราง บอกช่วงอุณหภูมิใช้งานต่ำสุด-สูงสุด และ % การเปลี่ยนแปลงค่าความจุตลอดช่วงอุณภูมิ
ตัวเก็บประจุเซรามิค Class 2 จะใช้คำว่า  X8R   X7R   X6R  X5R  X7S  Z5U  Y5V 


 ตัวเก็บประจุเซรามิค Class 2   สเปค X8R คือสเปคดีที่สุดสำหรับ Class2
 เรียงลำดับลงไปถึงดีน้อยที่สุดคือ  Y5V ซึ่งมีค่าความคลาดเคลื่อนสูงและตัวเก็บประจุเปลี่ยนค่าตาม
  อุณหภูมิ

 ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคที่นิยมใช้งานมากในงานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะเป็น ตัวเก็บประจุเซรามิคแบบหลายชั้น (  multilayer ceramic capacitors (MLCCs) ) เป็นเทคนิคที่ทำให้ตัวเก็บประจุมีค่าความจุมากขึ้นแต่ใช้พื้นที่น้อย   นอกจากนี้ตัวเก็บประจุชนิดนี้ยังใช้ในวงจรกำจัดสัญญาณรบกวน (RFI/EMI suppression)    วงจรกรองความถี่สูงลงกราวน์