![]() |
มองดูเผินๆทั้ง วารีสเตอร์ และ ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคเป็นสีฟ้าทั้งคู่ บางคนมีคำถามว่าอุปกรณ์ตัวสีฟ้าๆนี้เป็นตัวอะไร วารีสเตอร์ หรือ C เซรามิค ?
มีข้อสังเกต 4 ข้อ เกี่ยวกับลักษณะของวาริสเตอร์ อ่านครบ 4 ข้อนี้จะสามารถแยกวารีสเตอร์ และ ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคได้เกือบทั้งหมด มีดังนี้
1. ข้อความที่ตัวอุปกรณ์
เบอร์ขึ้นต้นของวาริสเตอร์จะขึ้นต้นด้วย MOV ZOV TMOV ZOV CNR CVR TVR ZNR DNR TVR KVR VDR ผู้ผลิตแต่ละรายใช้อักษรเบอร์ขึ้นต้นต่างกัน
โดยอักษร V ย่อมาจาก Varistor
ยกตัวอย่าง MOV ZOV TMOV
MOV ย่อมาจาก Metal oxide varistors
ZOV ย่อมาจาก Metal Zinc Oxide varistors
TMOV ย่อมาจาก Thermally protected varistors
วาริสเตอร์เรียกอีกชื่อว่า
วีดีอาร์ (VDR : Voltage Dependent Resistor ) คือ สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ตามระดับแรงดันไฟฟ้า ผู้ผลิตหลายเจ้าจึงใช้ชื่ออุปกรณ์ว่า VDR CNR CVR TVR ZNR DNR TVR KVR เป็นต้น โดยอักษร R ย่อมาจาก Resistor
เบอร์ช่วงกลางของวาริสเตอร์จะมีอักษรบอกขนาดความโต ( บางรุ่นไม่บอกก็มี) ใช้อักษร 05D 07D 10D 14D 20D 32D โดย
( บางยี่ห้อใช้อักษร S แทน D เช่น S20 หรือจะไม่มีทั้งอักษร S และ D คือมีแค่ตัวเลขเช่น 20 )
05D = วาริสเตอร์ Size 5mm
07D = วาริสเตอร์ Size 7mm
10D = วาริสเตอร์ Size 10mm
14D = วาริสเตอร์ Size 14mm
20D = วาริสเตอร์ Size 20mm
32D = วาริสเตอร์ Size 32mm
เช่น MOV-10D471K ซึ่งบอกขนาดความโตของแผ่นกลมแบน 10D = วาริสเตอร์ Size 10mm
เบอร์ช่วงท้ายๆของวาริสเตอร์จะบอกแรงดันในการทำงานของวาริสเตอร์ เมื่อบอกแรงดันตรงรหัสนี้แล้ว
ส่วนใหญ่บรรทัดล่างทัดไปจะไม่มีตัวเลขแรงดันไฟระบุซ้ำอีก ( ยกเว้นบางยี่ห้อ)
ยกตัวอย่าง MOV-10D471K ตัวเลขส่วนหลังคือ 471K = 470V บอกแรงดันในการทำงานของวาริสเตอร์ เนื่องจากผู้ผลิตวาริสเตอร์มีหลายรายตัวอย่างลักษณะเบอร์เพิ่มเติม MOV-10D471K 201KD32 V14E320P ERZ-V10D751 B72214S0321K101 V150LA20AP TMOV20RP320EL2T7 V18ZA1P เป็นต้น สังเกตว่าเบอร์ส่วนท้ายๆจะแตกต่างจากรหัสเบอร์ของ C
ขณะที่ถ้าเป็น C รหัสส่วนท้ายๆจะเป็นรหัสบอก % คาดเคลื่อน
ถ้าเข้าลักษณะเบอร์ช่วงต้น ช่วงกลาง ช่วงท้ายนี้มากที่สุดก็เป็นวาริสเตอร์
วารีสเตอร์ เบอร์ขึ้นต้นด้วย CNR 20D = Size 20mm
![]() |
วารีสเตอร์ เบอร์ขึ้นต้นด้วย GVR 10D = Size 10mm |
![]() |
ขณะที่ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคจะมีข้อความ 3 อย่างที่ตัวอุปกรณ์ คือ ค่าความจุ % คาดเคลื่อน
และแรงดันไฟ โดยใช้ตัวเลขสั้นๆเป็นรหัสบอกค่าความจุ ใช้อักษรบอก % คาดเคลื่อน และมีตัวเลขบอกแรงดันไฟ บางครั้งก็บอกแค่ค่าความจุ บางครั้งก็บอกแค่ 2 อย่าง บางครั้งก็บอกครบทั้ง 3 อย่าง
ตัวเลขสั้นๆเป็นรหัสบอกค่าความจุ เช่น 103 104 105 เป็นต้น อักษรบอก % คาดเคลื่อน F =1% G=2% J=5% K=10% M= 20% Z = +80%/-20% เช่น 104M , 202M 12KV , 473 12KV , CS102K 250V จะสังเกตว่าลักษณะเบอร์ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคจะแตกต่างจากเบอร์วาริสเตอร์ ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคถ้าเป็น C Safety จะมีข้อความว่า X1 Y1 X2 Y2 พร้อมระบุแรงดันไฟ AC
![]() |
ข้อความบนตัวเก็บประจุแบบเซรามิค มีรหัสตัวเลขค่าความจุเป็นตัวเลขสั้นๆและตัวเลขแรงดันไฟ |
![]() |
ตัวเก็บประจุแบบเซรามิค 103Z AC250 อักษรบอก % คาดเคลื่อน Z = +80%/-20% |
![]() |
ตัวเก็บประจุแบบเซรามิค 103Z AC250 103 = ค่า 10nf วัดได้จริง 8.29nf อักษรบอก % คาดเคลื่อน Z = +80%/-20% |
![]() |
รูปแรกตัวเก็บประจุแบบเซรามิค ตัวที่สองวาริสเตอร์ ( เบอร์ขึ้นต้นด้วย ZOV) |
![]() |
รูปแรกตัวเก็บประจุแบบเซรามิค ตัวที่สองวาริสเตอร์ ( เบอร์ขึ้นต้นด้วย ZOV) |
2) ทำการวัด ตั้งค่าย่านตัวเก็บประจุจะขึ้นทั้ง 2 อย่างเลยแต่เมื่อตั้งย่านโอห์มวัดวาริสเตอร์ที่ดีจะไม่ขั้นเลยคือเป็นอินฟินิตี้
![]() |
ตั้งค่าย่านตัวเก็บประจุ วัด C จะขึ้น |
![]() |
ตั้งค่าย่านตัวเก็บประจุ วัดวาริสเตอร์ จะขึ้นเช่นกัน |
![]() |
ตั้งค่าย่านโอห์ม วัดวาริสเตอร์ จะไม่ขี้น ตามรูปนี้ OL คือไม่ขึ้นและหมายถึงอินฟินิตี้ |
3. สัญลักษณ์ของวารีสเตอร์ และ ตัวเก็บประจุแบบเซรามิคจะเขียนต่างกัน
สัญลักษณ์อุปกรณ์ที่แผงวงจรช่วยให้เรารู้ชนิดอุปกรณ์และเป็นแนวทางในการการเช็คว่าดีหรือเสียได้
อย่างรวดเร็ว
![]() |
สัญลักษณ์ของตัวเก็บประจุแบบเซรามิค หรือ C ไม่มีขั้ว |
![]() |
สัญลักษณ์ของวารีสเตอร์ |
4. ตัวอย่าง เบอร์ของวาริสเตอร์ เพิ่มเติม
มีอักษร
05D = วาริสเตอร์ Size 5mm
07D = วาริสเตอร์ Size 7mm
10D = วาริสเตอร์ Size 10mm
14D = วาริสเตอร์ Size 14mm
20D = วาริสเตอร์ Size 20mm
32D = วาริสเตอร์ Size 32mm