ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ต้องเกี่ยวข้องกับหน่วยเหล่านี้เป็นประจำ
เพราะเวลาซ่อม ต้องปรับย่านวัดมิเตอร์ และการอ่านค่าสเปคอุปกรณ์มีค่าเป็นตัวเลขแล้วต้องตามด้วยหน่วยเสมอ เช่น กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็น แอมป์ (A) แรงดันไฟฟ้า หน่วยเป็นโวลต์ ( V ) ตัวต้านทานหน่วยเป็นโอห์ม ( Ω) กำลังไฟฟ้าหน่วยเป็นวัตต์ ( W ) ความจุไฟฟ้า หน่วยเป็นฟารัด ( F ) ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า หน่วยเป็นเฮนรี่ ( H ) ความถี่หน่วยเป็นเฮิร์ต ( Hz ) หน่วยมีความสำคัญมากในการวัด เช่นกระแสไฟฟ้า 1A 1mA และ 1µA มีความหมายต่างกันมาก
ตัวอย่างการใช้หน่วยวัดปริมาณไฟฟ้าในงานจริง
วัดแรงดันไฟ AC จากปลั๊กพ่วง ในรูปวัดแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220VAC
แต่เนื่องจากเป็นหอพักหลายชั้นไฟตกจึงมีไฟเพียง 207.2VAC สังเกตว่าที่หน้าปัดมิเตอร์
แสดงอักษร V และหน้าตัวเลข 207.2 มีสัญลักษณ์ ~ หมายถึงไฟฟ้ากระแสสลับ
![]() |
วัด แรงดันไฟ 220 VAC หน่วย โวลต์ ( V ) |
วัดแรงดันไฟ DC ในรูปเป็นไฟจากแบตเตอรี่ 6VDC มิเตอร์วัดได้ 6.22V
สังเกตว่าที่หน้าปัดมิเตอร์ แสดงอักษร V และหน้าตัวเลข 6.22V
มีสัญลักษณ์ - หมายถึงแรงดันไฟฟ้ากระแสตรง
![]() |
วัด แรงดันไฟ 6 VDC หน่วย โวลต์ ( V ) |
ที่หนัาปัดมิเตอร์ขึ้นสัญลักษณ์ A และ หน้าตัวเลข 0.060 ขึ้นอักษร AC หมายถึง เป็นไฟกระแสสลับ
![]() |
วัดกระแสไฟฟ้ากระแสสลับ หน่วย แอมป์ ( A ) |
วัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง จากรูปตัวอย่างการสาธิต ใช้ไฟจากแบตเตอรี่ต่อกับพัดลมระบายความร้อนขนาดเล็ก ที่หนัาปัดมิเตอร์ขึ้นสัญลักษณ์ A และ หน้าตัวเลข 0.104 ขึ้นอักษร DC หมายถึง กระแสไฟฟ้ากระแสตรง
![]() |
วัดกระแสไฟฟ้ากระแสตรง หน่วย แอมป์ ( A) |
วัดตัวต้านทาน ในรูป เป็นการวัดตัวต้านทาน 10 โอห์ม มิเตอร์วัดได้จริง 9.8 Ω และ 100 โอห์ม มิเตอร์วัดได้จริง 100.5 Ω สังเกตว่า ที่หน้าปัดมิเตอร์ขึ้นสัญลักษณ์ Ω
![]() |
วัดตัวต้านทาน หน่วย โอห์ม ( Ω ) |
![]() |
วัดตัวต้านทาน หน่วย โอห์ม ( Ω ) |
วัดตัวเก็บประจุ ในรูปเป็นการวัดตัวเก็บประจุ 33 µF มิเตอร์วัดได้จริง 34.80 µF
ทีหน้าปัดแสดงหน่วยวัดเป็น µF
![]() |
วัดตัวเก็บประจุ หน่วยฟารัด |
วัดตัวเหนี่ยวนำ ในรูปเป็นการวัดตัวเหนี่ยวนำ ค่า 100µH มิเตอร์วัดได้จริง 102µH
ทีหน้าปัดแสดงหน่วยวัดเป็น µH สัญลักษณ์ µH จะอยู่หลังตัวเลข 102
![]() |
วัดตัวเหนี่ยวนำ หน่วยเฮนรี่ |
วัดความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ 50Hz มิเตอร์วัดได้จริง 49.95 Hz
![]() |
วัดความถี่ไฟฟ้ากระแสสลับ หน่วย เฮิร์ต |
อุปกรณ์ไฟฟ้าระบุกำลังไฟฟ้าเป็นวัตต์ ดูรูปตัวอย่าง
หลอดไฟ LED ระบุกำลังไฟฟ้า 9 วัตต์ ( 9W )
ปลั๊กพ่วงระบุกำลังไฟสูงสุดที่รับได้หน่วยเป็นวัตต์
![]() |
ปลั๊กพ่วง 2200W |
กำลังไฟฟ้า ( วัตต์) 485
โคมไฟอ่านหนังสือระบุกำลังไฟฟ้าหน่วยเป็นวัตต์ ตามรูปด้านล่างนี้ระบุที่ฉลาก
กำลังไฟฟ้า Total Power 5W
การอธิบายถึงปริมาณทางไฟฟ้าหน่วยที่ใหญ่มาก ๆและหน่วยที่เล็กมากๆ จะใช้คำอุปสรรคในหน่วย SI เติมข้างหน้าหน่วยหลักของปริมาณนั้น
กระแสไฟฟ้า
0.001A = 1/1,000A = 1X10-3 A
0.02A = 20/1,000A =20X10-3A
แรงดันไฟฟ้า
0.001V = 1/1,000V = 1X10-3 V
0.000001 = 1/1,000,000V = 1X10-6 V
กำลังไฟฟ้า
1000 W = 1X103 W
1,000,000W = 10 X 106 W
แปลงค่าอยู่ในรูปแบบอย่างง่าย Simplify form.
กระแสไฟฟ้า
0.001A = 1/1,000A = 1X10-3 A = 1mA
0.02A = 20/1,000A =20X10-3 A =20mA
แรงดันไฟฟ้า
0.001V = 1/1,000V = 1X10-3 V = 1mV
0.000001 = 1/1,000,000V = 1X10-6 A = 1uV
กำลังไฟฟ้า
1000 W = 1X 103 W = 1K W
1,000,000W = 1 X 106 W = 1M W
ความจุไฟฟ้า
0.000001F = 1/1,000,000F = 1X10-6 F = 1uF
0.000000010 F = 10/ 1,000,000,000 = 10X 10-9 F = 10nF
ตัวอย่างการใช้งานจริง
จากรูปแทนที่จะอ่านค่าตัวต้านทาน 45900 Ω เราจะนิยมอ่านเป็น 45.9 KΩ แทนเนื่องจากเขียนย่อและอ่านออกเสียงไม่ยาว เข้าใจง่ายด้วย
![]() |
การวัดตัวต้านทาน หน่วย K โอห์ม |