วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

คาปาซิเตอร์แอร์ คาปาซิเตอร์สตาร์ทแอร์ แคปรันแอร์ ( Air Conditioner Capacitor )


คาปาซิเตอร์แอร์     ຕົວເກັບປະຈຸ



คาปาซิเตอร์แอร์ถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าและทางกายภาพที่เหมาะสมกับการใช้งานในวงจรแอร์    อาจเป็นรูปทรงกระบอกหรือรูปทรงรี    
 คาปาซิเตอร์แอร์มีทั้ง แคปรัน และ แคปสตาร์ท    คุณสมบัติทีสำคัญ เช่น   มีความสูญเสียต่ำ    มีค่า ESR ต่ำ    ทนกระแสริปปิ้ลได้สูง    ซ่อมตัวเองได้  (Self-healing property)  อายุการใช้งานยาวนาน  วัสดุที่ใช้ทำฉนวนข้างในคาปาซิเตอร์คือ metallized polypropylene film  ถ้าค่าความจุสูงๆอาจเป็นคาปาซิเตอร์ชนิดอิเล็กโทรไลต์ไม่มีขั้ว สเปคให้อ้างอิงจากเอกสารผู้ผลิต   เช่น   CD60 series aluminum electrolytic capacitor บอกไว้ชัดเจนว่า เป็นคาปาซิเตอร์ชนิดอิเล็กโทรไลต์ไม่มีขั้ว



1)     คาปาซิเตอร์สตาร์ทแอร์      เป็นตัวที่เสียบ่อย    คาปาซิเตอร์สตาร์ทแอร์ทำหน้าที่เลื่อนมุมเฟสกระแสไฟขณะสตาร์ท เพื่อให้เกิดแรงทอร์กเพียงพอให้มอเตอร์เริ่มหมุนได้อย่างราบรื่นและปกติ  ตัวอย่างสเปคที่ใช้บ่อย   เช่น Series CD60 สเปคตามมาตรฐาน ANSI/EIA-463  ใช้กับมอเตอร์  AC  1 เฟส  50/60Hz  พิกัดแรงดัน 110-330VAC  ค่าความจุระบุเป็นช่วง เช่น 145-175MF   43-54UF   30-36UF   เป็นต้น    เคสคาปาทำจาก bakelite plasticized  ซึ่งแข็งแรง เป็นฉนวนที่ดี  ซีลปิดป้องกันชิ้นส่วนข้างในได้อย่างดี   คาปาซิเตอร์สตาร์ท  Series CD60  ถูกนำไปใช้งานหลายอย่าง  เช่น แอร์  ตู้เย็น  เครืองซักผ้า  พัดลม   ประตูเลื่อน  เป็นต้น



คาปาซิเตอร์แอร์   คาปาซิเตอร์สตาร์ทแอร์    ຕົວເກັບປະຈຸ
คาปาซิเตอร์แอร์   คาปาซิเตอร์สตาร์ทแอร์      Air Conditioner Capacitor 



คาปาซิเตอร์แอร์

คาปาซิเตอร์แอร์   คาปาซิเตอร์สตาร์ทแอร์

ตัวเก็บประจุ



2)      คาปาซิเตอร์รัน ใช้ทั้งกับคอมเพรสเซอร์ และ พัดลม  มี  2 แบบย่อย    2.1 )  คาปาซิเตอร์รัน  1 ค่าความจุ   2.2)  คาปาซิเตอร์รัน  2 ค่าความจุ (dual-run capacitor  มีค่าความจุ 2 ค่าในคาปาซิเตอร์รัน 1 ตัว  ( ดูรูปประกอบ ) ทำให้ขนาดคาปาซิเตอร์โดยรวมมีขนาดเล็กลง  คาปาซิเตอร์รันทำหน้าที่ปรับกระแสหรือเลื่อนมุมเฟสกระแสในขดลดของมอเตอร์ เพื่อให้ได้แรงทอร์คและประสิทธิภาพการทำงาน    คาปาซิเตอร์รันถูกออกแบบมาให้ใช้งานต่อเนื่องได้และมีการเสียน้อยกว่าคาปาซิเตอร์สตาร์ท   คาปาซิเตอร์รัน  2 ค่าความจุ (dual-run capacitor )  จะมีอักษรที่ขั้วเสียบกำกับไว้เพื่อให้ต่อใช้งานได้อย่างถูกต้อง   ต้องต่อให้ถูกต้องตามชื่อขั้้วที่ระบุไว้

โดย 
 C  =  Common  ให้ต่อขา  Common
 "H"  หรือ "Herm" ย่อมาจาก "Hermetic หมายถึง ให้ต่อกับคอมเพรสเซอร์  
"F" ย่อมาจาก "Fan หมายถึงให้ต่อพัดลม 
การระบุค่า เช่น    50μF+2.5μF    หมายถึงตัวแรกมีค่า  50μF  และตัวที่สองมีค่า 2.5μF    ปกติแล้วตัวที่มีค่าความจุน้อย ( 2.5μF  ) ใช้ต่อกับพัดลม  และตัวที่มีค่าความจุมาก  ( 50μF ) ใช้ต่อคอมเพรสเซอร์   ดูรูปด้านล่าง

รูปแสดง  คาปาซิเตอร์รัน  2 ค่าความจุ 
ที่ขั้วต่อจะเขียน   C   FAN  และ  HERM

คาปาซิเตอร์แอร์   แคปรันแอร์    Air Conditioner Capacitor
คาปาซิเตอร์แอร์   แคปรันแอร์    Air Conditioner Capacitor 

คาปาซิเตอร์แอร์   แคปรันแอร์    Air Conditioner Capacitor

คาปาซิเตอร์แอร์
คาปาซิเตอร์แอร์   แคปรันแอร์    Air Conditioner Capacitor 




 ตัวอย่าง   คาปาซิเตอร์รัน  1 ค่าความจุ

คาปาซิเตอร์แอร์    แคปรันแอร์   Air Conditioner Capacitor
คาปาซิเตอร์แอร์    แคปรันแอร์   Air Conditioner Capacitor 

ตัวเก็บประจุ
  


 ตัวอย่าง   คาปาซิเตอร์รัน  2  ค่าความจุ

คาปาซิเตอร์รัน   คาปาซิเตอร์แอร์

คาปาซิเตอร์รัน   คาปาซิเตอร์แอร์
คาปาซิเตอร์แอร์