![]() |
ลิมิตสวิตช์ แบบต่างๆ Limit Switch |
ลิมิตสวิตช์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานมากตัวหนึ่งในงานควบคุมและระบบอัตโนมัติ ช่างต้องเกี่ยวข้องกับลิมิตสวิตช์ในงานซ่อมและงานออกแบบระบบควบคุม ในการซ่อมส่วนมากช่างอยากใช้เบอร์เดิม บางครั้งก็ใช้รุ่นแทนได้เพราะต้องรีบซ่อมเพื่อไม่ให้เครื่องหยุดทำงานเป็นเวลานาน สเปคพื้นฐานของลิมิตช์สวิตช์คือชื่อรุ่นและชื่อผู้ผลิตซึ่งใช้อ้างอิงในการซื้ออะไหล่ สเปคละเอียดอื่นๆมีดังนี้
1.) พิกัดกระแสและแรงดันของสวิชต์ สูงสุดกี่แอมป์ กี่โวลต์ ?
2) วงจรไฟฟ้าข้างใน มีจำนวนหน้าสัมผัสกี่ NC กี่ NO ?
3) สเปคกันน้ำ กันฝุ่นหรือไม่ บางครั้งต้องติดตั้งในบริเวณที่มีโอกาสโดนน้ำหรือมีฝุ่นเยอะ ต้องใช้ลิมิตสวิตช์แบบกันน้ำกันฝุ่น จะบอกสเปคเป็น IP rating เช่น IP65 IP66 IP67 IP68
4) สเปคทางกลไก สามารถทำงานหรือเคลื่อนที่ไปมาได้กี่แสนครั้ง หรือกี่ล้านครั้ง
![]() |
พิกัดกระแสและแรงดันของสวิชต์ |
![]() |
ลักษณะหน้าสัมผัส จำนวน NC NO |
![]() |
ลักษณะหน้าสัมผัส จำนวน NC NO |
5) ขนาด กว้าง ยาว สูง ระยะรูยึด และขนาดรู้ยึด
6) สเปคพิเศษ เช่น ทนแรงกระแทกได้สูงกว่าปกติ กันการระเบิดได้ รวมทั้งขอบเขตการใช้งานที่แนะนำไว้โดยผู้ผลิตสวิตช์
7) มาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องและผ่านการทดสอบ เช่น UL CSA NEMA EN IEC CE เป็นต้น หลายงานเน้นความน่าเชื่อถือในการทำงานของสวิตช์และสเปค ต้องใช้สวิตช์ที่มีคุณภาพสูงและผู้ผลิตที่มีเชื่อเสียงเท่านั้น
8) Actuator ของสวิตช์ คือตัวรับแรงจากภายนอกเพื่อส่งแรงขับต่อไปยังกลไกภายใน Actuator มีหลายแบบเรามาดูว่ามีแบบไหนบ้าง จะได้เรียกชื่อให้ถูกต้องใช้งานหรือตอนหาซื้ออะไหล่มาเปลี่ยน
Actuator ของสวิตช์แบบต่างๆ
ทบทวนอีกรอบ Actuator ของสวิตช์ คือตัวรับแรงจากภายนอกเพื่อส่งแรงขับต่อไปยังกลไกภายใน
![]() |
Actuator หัวปุ่ม |
![]() |
Actuator หัวปุ่ม |
![]() |
Actuator ก้านสั้น และ ก้านยาว |
![]() |
Actuator ก้านสั้นมีปลายโค้ง |
![]() | ||||
Actuator ก้านสั้นติดหัวลูกล้อ และ ก้านยาวติดหัวลูกล้อ
|
รูปที่2 ME-8169 Actuator ก้านขดลวดสปริง
รูปที่3 Actuator เส้นกลมเล็กปรับความยาวได้
รูปที่4 Actuator ก้านสปริงปลายไนล่อน
รูปที่5 Actuator ก้านติดหัวลูกล้อ