วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ฟิวส์ SMD Fuse SMD อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

    
ฟิวส์    SMD   Fuse  SMD



ฟิวส์ SMD คือฟิวส์ที่แปะติดบนพื้นผิววงจร  มีพิกัดแรงดันให้เลือกใช้งาน  32V   63V   65V   125V   250V   277V  มีทั้งแบบใช้กับไฟ  DC และใช้กับไฟ AC  และมีรุ่นที่ใช้ได้ทั้งไฟ DC และ AC   ฟิวส์ SMD  ส่วนมากมีพิกัดกระแสต่ำและกระแสสูปานกลาง  เช่น 50mA  63mA  200mA  500mA   5A   10A   20A  40A  50A  เป็นต้น   นิยมใช้ในแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์   เช่น  อุปกรณ์อิเล็กทรอส์ที่เน้นพกพาสะดวก 
โทรศัพท์มือถือ  โน๊ตบุค  เครื่องเล่น DVD  เครื่องเล่นเกม   LCD/LED ทีวี   ปริ้นเตอร์  และอื่นๆอีกจำนวนมาก รวมทั้ง เครื่องมือแพทย์   และ   แผงวงจรอุตสาหกรรม

รูปแสดงฟิวส์ SMD ในวงจร
ฟิวส์    SMD    SMD   Fuse







รูปแสดงฟิวส์ SMD  

ฟิวส์ SMD   SMD Fuse  5A
ฟิวส์ SMD   SMD Fuse

ฟิวส์    SMD      SMD  Fuse

ฟิวส์    SMD   SMD  Fuse
   ฟิวส์ SMD  T4   T= Time Delay หรือ Time Lag หมายถึงฟิวส์แบบขาดช้า  4 = 4A ถ้าเป็นแบบขาดเร็วจะ ใช้   F  =  Fast Acting



ผู้ผลิตฟิวส์แต่ละรายอาจกำหนดให้ใช้อักษร  1 ตัวแทนกระแส




ขนาดฟิวส์ SMD  มาตรฐาน
ฟิวส์ SMD  มาตรฐาน มีชื่อเรียกขนาดเหมือนขนาดของ R SMD และ C SMD
เนื่องจาก Fuse มีหลายแบบหลายมาตรฐานจึงมีฟิวส์ SMD ขนาดอื่นๆนอกจากที่แสดงไว้ในตารางด้วย เช่น  2-SMD, J-Lead  มีขนาด  ยาว 7.24mm x  กว้าง 4.32mm x สูง 3.05mm  และ  2-SMD, Square End Block  มีขนาด   ยาว 6.10mm x กว้าง 2.54mm x สูง 2.54mm   เป็นต้น


ตัวอย่างการวัดขนาดฟิวส์  SMD

วัดความยาว ฟิวส์  SMD ได้  5.9mm

วัดความกว้าง ฟิวส์  SMD ได้  2.3mm

จากรูปขนาดที่วัดได้   5.9mmx2.3mm  =  เป็นฟิวส์ขนาดมาตรฐาน  2410 เพราะเป็นขนาดที่ใกล้เคียงขนาด 2410  มากที่ดสุด  (  Size 2410  = L 6.10mm x W 2.54mm )


ระยะเวลาในการตัดของฟิวส์  ( Fuse Characteristic  )

ฟิวส์ SMD มีทั้งแบบขาดเร็วและขาดช้า   ฟิวส์ต้องตัดวงจรก่อนที่วงจรถัดไปจะเสียหาย  ความเร็วในการตอบสนองต่อกระแสเกิน/หลอมละลายของฟิวส์ว่าจะเร็วระดับไหน   จะพูดถึงฟิวส์ที่ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ( PCB Fuse)ซึ่งอ้างอิงตามมาตรฐาน IEC 60127-4 เป็นฟิวส์ทีมีพิกัดแรงดัน  32V   63V  125V  250V  เงื่อนไขปริมาณกระแสที่ใช้ในการทดสอบคือ กระแสมากกว่าพิกัดกระแสปกติ  125%  ฟิวส์ต้องทนได้และไม่ตัดในระยะเวลาที่น้อยกว่า 1 ชม. ( ทนได้ไม่ต่ำกว่า 1 ชม.) กระแสมากกว่าพิกัดกระแสปกติ  200% ฟิวส์ต้องตัดวงจรภายใน 2 นาที  ระดับความเร็วในการตัดของฟิวส์จะใช้เกณฑ์  Over load  1000%  เป็นเกณฑ์ ในการแบ่ง

ฟิวส์ขาดเร็วมาก   Type FF   ( Very Fast acting )  ใช้ระยะเวลาในการตัดน้อยกว่า  0.001 sec.
ฟิวส์ขาดเร็ว  Type F   (   Fast acting )  ใช้ระยะเวลาในการตัดอยู่ในช่วง   0.001 - 0.01 sec.  
ฟิวส์ขาดช้า  Type T    (  Time lag /Time Delay Slow Blow  )  ใช้ระยะเวลาในการตัดอยู่ในช่วง   0.01 - 0.1 sec.    
ฟิวส์ขาดช้า  Type TT   (  Time lag /Time Delay Slow Blow  )  ใช้ระยะเวลาในการตัดอยู่ในช่วง   0.1 - 1.0 sec.      

การเลือกระดับความเร็วการตัดของฟิวส์จะเลือกตอนออกแบบวงจรต้องเลือกให้ป้องกันวงจรถ้ดไปและสอดคล้องกับชนิดของวงจร
กรณีการซ่อมต้องเลือกฟิวส์ที่มีสเปคตรงกับตัวเก่าที่ใช้อยู่  ตัวอย่างแนวทางกว้างๆ เช่น โหลดที่เป็นลักษณะตัวต้านทาน ( Resistive load type)  รวมถึงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ซึ่งมีกระแสเสิร์จ กระแสพุ่งต่ำ(การดึงกระแส)  จะเลือกใช้ฟิวส์แบบ Fasting Acting  
 โหลดที่เป็นลักษณะตัวเก็บประจุ ( Capacitive load type ) ซึ่งมีกระแสพุ่ง(หรือการดึงกระแส)มากกว่ากระแสปกติ 10 เท่า เช่น   วงจรแหล่งจ่ายไฟ วงจรมอเตอร์ และวงจรซึ่งมีตัวเก็บประจุค่าความจุสูงจะเลือกใช้ฟิวส์แบบ Time Delay หรือ Time Lag เพื่อป้องกันฟิวส์ขาดเร็วเกินไปหรือตัดวงจรโดยไม่จำเป็น