วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า คาปาซิเตอร์ชนิด ไมก้า Mica Capacitor


ตัวเก็บประจุ  ຕົວເກັບປະຈຸ


ตัวเก็บประจุชนิดไมก้ามีฉนวนไดอิเล็กทริคทำจากไมก้า  ไมก้าเป็นกลุ่มแร่ธรรมชาติและแร่ไมก้ามีคุณสมบัติทางไฟฟ้า เคมี และทางกลที่เสถียร   เนื่องจากโครงสร้างผลึกคริสตอลที่มีลักษณะเฉพาะเรียงเป็นชั้นจึงสามารถทำให้เป็นแผ่นบางๆได้พร้อมทั้งได้คุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ดีขึ้น ทนอุณหภูมิได้สูง ไมก้าไม่ทำปฏิกิริยากับกรดส่วนใหญ่  น้ำ น้ำมันและสารละลาย ตัวเก็บประจุชนิดไมก้าที่ผลิตใช้งานอยูในปัจจุบันเรียกว่า   Silver Mica
Capacitor  โครงสร้างข้างในของตัวเก็บประจุชนิดไมก้าทำจากแผ่นไมก้าบางเรียงเป็นชั้นอย่างแซนวิช ที่ผิวของแผ่นไมก้าชุปด้วยเงิน  (Silver)และวางเป็นชั้นเพื่อให้ได้ค่าความจุที่ต้องการ  ด้านนอกหุ้มปิดด้วยเซรามิกอีพ็อกซี่เรซินเพื่อป้องกันตัวเก็บประจุจากสิ่งแวดล้อมภายนอก    ตัวเก็บประจุชนิดไมก้ามีค่าความจุน้อยหน่วยเป็น pf  nf  และมี  UF ค่าน้อยๆ   วงจรที่ต้องการความเสถียรสูงและต้องการตัวเก็บประจุที่มีค่าความจุเปลี่ยนแปลงน้อยมากตลอดช่วงอายุการใช้งาน   มีค่าความสูญเสียต่ำ   ค่าความจุน้อยๆพร้อมทั้งมีค่าความจุที่เชื่อถือได้สูง      สถานะการณ์ที่ต้องใช้ตัวเก็บประจุมีคุณสมบัติดังกล่าวในการออกแบบวงจรจะเลือกใช้ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า   (ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคและอิเล็กโตรไลต์มีค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไปที่ ±20%)

ตัวเก็บประจุ
ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า   Mica Capacitor  


        
ตัวเก็บประจุ  ຕົວເກັບປະຈຸ
                                               ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า   Mica Capacitor


       
ตัวเก็บประจุ  ຕົວເກັບປະຈຸ
                                                       ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า   Mica Capacitor



ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า แบบ SMD

ตัวเก็บประจุชนิดไมก้า  SMD  Mica Capacitor

ตัวเก็บประจุ

ข้อดี
-  มีค่าความจุที่เทียงตรงและความคลาดเคลื่อนน้อย   มีค่าต่ำที่สุดถึง  ±1%  ดีกว่าตัวเก็บประจุชนิดอื่นๆ เช่น ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิคและอิเล็กโตรไลต์มีค่าความคลาดเคลื่อนทั่วไปที่ ±20%
-  เสถึยร  ค่าความจุเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยตลอดช่วงเวลา นอกจากนี้ยังเสถียรในช่วงอุณหภูมิ แรงดันและความถี่ที่กว้าง  ( Ultra stable no change with (t) , (V) , and  (f) )
นอกจากนี้โครงสร้างที่หุ้มปิดด้วยเซรามิกอีพ็อกซี่เรซินอย่างดีช่วยป้องกันตัวเก็บประจุไม่ให้ได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมภายนอก 
-  ความสูญเสียน้อย   ตัวเก็บประจุชนิดไมก้ามีค่า ESR และ ESL ที่ต่ำ คุณลักษณะที่เกือบจะไม่เปลี่ยนแปลงตามความถี่  ( Mostly  Frequency Independent )  ทำให้ตัวเก็บประจุชนิดนี้ใช้งานที่ถี่ความถี่สูงได้ดีมาก

ข้อเสีย
- มีขนาดใหญ่
- ราคาแพง  ทำให้บางกรณีจะเลือกใช้ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิค Class 1 ซึ่งมีความเสถียรที่ดีมากและราคาถูกกว่ามาใช้แทน ( ในบางกรณีก็ใช้แทนไม่ได้ )

การใช้งาน
ตัวเก็บประจุชนิดไมก้ามีแรงดันแบรกดาวน์ที่สูงและมีสเปค 100V ถึง 10KV  ด้วยคุณสมบัติที่ดีหลายข้อดังกล่าวข้างต้นทำให้ตัวเก็บประจุชนิดนี้นำไปใช้งานส่วนใหญ่กับวงจร RF พาวเวอร์  และวงจรความถี่สูง  ( ตัวเก็บประจุชนิดอื่นๆไม่สามารถใช้ได้ )  ตัวอย่างวงจร เช่น   วงจรพาวเวอร์ RF   วงจรกรองความถี่่  วงจรออสซิลเลเตอร์   วงจรจูนความถี่สูง  วงจรเครื่องส่งวิทยุ ( RF  Transmitter )    , RF Power Amplifiers ,  Laser ,   ระบบสายอากาศ   เครื่องมือแพทย์ย่านความถี่ RF   นอกจากนี้ยังใช้งานในวงการอื่นๆที่ความเสถียรของวงจรเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง  เช่น เครื่องมือของทหาร   อุปกรณ์ใช้งานในอวกาศ  เครื่องมือแพทย์  เป็นต้น