วันอังคารที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ตัวเหนี่ยวนำ ( Inductor) อินดักเตอร์ ตัวอย่างตัวเหนี่ยวนำแกนอากาศและตัวเหนี่ยวนำแกนฟอร์ไรต์

       
                                                           ตัวเหนี่ยวนำ  ( Inductor)  อินดักเตอร์ 



ตัวเหนี่ยวนำเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ชนิดพาสซิฟ (ไม่ขยายสัญญาณ)เช่นเดียวกับตัวต้านทาน ส่วนอุปกรณ์ชนิดแอคทีฟซึ่งขยายสัญญาณเช่นทรานซิสเตอร์   โครงสร้างพื้นฐานของตัวเหนี่ยวนำคือเส้นลวดตัวนำที่หุ้มฉนวนพันเป็นขดรอบแกน  ยิ่งจำนวนขดที่พันมากก็จะได้ค่าความเหนี่ยวนำมากตามไปด้วย  นอกจากนี้ค่าความเหนี่ยวนำยังขึ้นอยู่กับชนิดของแกนและรูปทรงของตัวเหนี่ยวนำด้วย  ตัวเหนี่ยวนำมีหน่วยเป็นเฮนรี่ (henry) ใช้อักษรย่อ " H  " ตั้งชื่อตามนักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันชื่อ Joseph Henry  ในทางปฏิบัติมีค่าตัวเหนี่ยวนำให้เลือกใช้งาน  1 ไมโครเฮนรี่ ( µH) ถึง   20 เฮนรี่ (20H)   เนื่องจากโครงสร้างตัวเหนี่ยวนำที่ทำจากเส้นลวดมันจะมีค่าความต้านทานอยู่จำนวนหนึ่งด้วยสิ่งนี้ทำให้เกิดการสูญเสียพลังงาน     ลักษณะการพันเป็นขดที่ความถึ่สูงมันจะมีคุณสมบัติเป็นค่าความจุแฝงที่ความถี่สูงค่าหนึ่งภายในตัวเหนี่ยวนำเองจะเกิดวงจรรีโซแนนซ์และเกิด  self-resonant  สำหรับรายละเอียดเรื่องนี้สามารถเรียนได้ในวิชาวิเคราะห์วงจร RLC และวงจรความถี่สูง
ตัวเหนี่ยวนำใช้งานในวงจรอนาล็อก    วงจรแหล่งจ่ายไฟ / วงจรฟิลเตอร์ต่อร่วมกับตัวเก็บประจุทำหน้าที่กรองไฟให้เรียบ   วงจรกำเนิดสัญญานไซน์เวฟ  วงจรบายพาส  วงจรฟิลเตอร์อื่นๆ    วงจรปรับจูนความถี่  (tuned circuit)  ในเครื่องรับ/เครื่องส่งวิทยุ  


รูปแสดงการใช้งานตัวเหนี่ยวนำในวงจร


ตัวเหนี่ยวนำ   อินดักเตอร์   Inductor




ตัวเหนี่ยวนำ   อินดักเตอร์   Inductor



ตัวอย่างชนิดตัวเหนี่ยวนำ   แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำแกน
จากการซื้อตัวอย่าง ตัวเหนี่ยวนำมาดูหลายๆแบบพบว่าที่ตัวเหนี่ยวนำบางตัวระบุข้อมูลสเปคไว้น้อยบอกเพียงตัวเลขสเปคสั้นๆ ทำให้เราไม่ทราบข้อมูลสเปคที่ครบถ้วน  สิ่งนี้อาจมีปัญหาในการซ่อมและการหาตัวเหนี่ยวนำทดแทนตัวที่เสีย  ดังนั้นทักษะในการใช้มิเตอร์วัด การวิเคราะห์ชนิดอุปกรณ์และการอ่านลายวงจรจำเป็นต้องใช้สำหรับแก้ไขเมื่อเจอสถานะการณ์แบบนี้

ตัวเหนี่ยวนำแกนอากาศ  
จะใช้วัสดุที่ไม่เป็นสารแม่เหล็กมาทำแกน  อาจใช้เซรามิค พลาสติก หรือวัสดุชนิดอื่นๆ  การใช้วัสดุชนิดนี้จะได้ค่าความเหนี่ยวนำที่ต่ำกว่าตัวเหนี่ยวนำที่ใช้แกนเป็นสารแม่เหล็ก  ข้อดีคือไม่มีความสูญเสียเนื่องจากแกนและสามารถใช้งานที่ความถี่สูงได้   ส่วนข้อเสียการใช้แกนอากาศอาจได้รับผลกระทบจากการสั่นและการกดทำให้รูปทรงตัวเหนี่ยวนำเบี้ยว
ผลคือทำให้ค่าความเหนี่ยวนำเปลี่ยนค่าตามไปด้วย

ตัวเหนี่ยวนำแกนอากาศ




ตัวเหนี่ยวนำแกนฟอร์ไรต์
ใช้ฟอร์ไรต์ทำแกนทำให้ใช้งานที่ความถี่สูงได้

ตัวเหนี่ยวนำ



ตัวเหนี่ยวนำแกนฟอร์ไรต์       อินดักเตอร์   Inductor

ตัวเหนี่ยวนำแกนฟอร์ไรต์       อินดักเตอร์   Inductor

จากการดูสเปคและ Datasheet ของผู้ผลิตพบว่าตัวเหนี่ยวนำแบบมีแถบสีตามรูปด้านล่างนี้
ส่วนใหญ่ใช้ฟอร์ไรต์ทำแกน  มีเพียงบางตัวเท่านั้นที่ผู้ผลิตไม่ได้ระบุวัสดุไว้




ตัวเหนี่ยวนำ   Inductor    อินดักเตอร์

ตัวเหนี่ยวนำ
                                                    ตัวเหนี่ยวนำ   Inductor    อินดักเตอร์ 



ตัวเหนี่ยวนำ   Inductor    อินดักเตอร์
                              

ตัวเหนี่ยวนำทอรอยด์
รูปทรงเป็นวงทำให้ได้วงจรแม่เหล็กแบบปิด  เส้นแรงแม่เหล็กไม่แพร่ออกไปข้างนอก  ดังนั้นจึงมีสัญญาณรบกวนแพร่ออกไปรบกวนวงจรอื่นๆน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับตัวเหนี่ยวนำแบบอื่นๆ  ทำให้สามารถผลิตตัวเหนี่ยวนำค่าสูงขณะที่มีขนาดเล็ก     ตัวเหนี่ยวนำทอรอยด์ใช้ฟอร์ไรต์ทำแกนหรืออาจใช้วัสดุอื่นๆทำแกนก็มี
ตัวเหนี่ยวนำ    Inductor

ตัวเหนี่ยวนำ


โช้ค (Choke)
เป็นตัวเหนี่ยวนำพื้นฐานที่สุด  ใช้เส้นลวดพันเป็นขดรอบแกน  ออกแบบมาเพื่อใช้บล๊อคไฟ AC ความถี่สูงและปล่อยให้ไฟ DC และไฟ AC ความถี่ต่ำ ผ่านไปได้
จากสมการความต้านทานไฟสสับของตัวเหนี่ยวนำ   XL = 2πƒL    ที่ไฟ DC ซึ่งไม่มีความถี่ หรือ ƒ = 0  
แทนค่าจะได้ XL =0  ทำให้ไฟ DC ผ่านไปได้   ยิ่งความถี่สูงยิ่งได้ค่า XL สูงนั้นคือความถี่สูงผ่านไปได้ยากหรือน้อย หรือถูกลดทอนขนาดสัญญาณลง


โช้ค  Choke  Inductor

ตัวเหนี่ยวนำ
                                   
ตัวเหนี่ยวนำ   Inductor    อินดักเตอร์
ตัวเหนี่ยวนำ   Inductor    อินดักเตอร์